‘นอนกรน’ ระดับไหนอันตราย เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ  

นอนกรนเป็นภัยเงียบทางสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม หากอาการนอนกรนของเราอยู่ในระดับอันตราย จะเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ จนอาจเสียชีวิตได้ สำหรับใครที่รู้ว่าตัวเองนอนกรนแต่ยังไม่รู้ว่าตัวเรารอนกรนในระดับที่อันตรายแล้วหรือยัง เราไปเช็คความรุนแรงของการนอนกรน 3 ระดับ กันเลย 

 

นอนกรนทำให้เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับอย่างไร   

Free photo happy and healthy senior man wearing cpap mask sleeping smoothly all night long

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) เป็นอาการที่เกิดจากการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อภายในช่องปาก จนไปขัดขวางทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ ทำให้ผู้ที่มีอาการจะหายใจลำบากมากขึ้นหรือมีการหายใจที่ผิดปกติในขณะที่นอนหลับ จนเกิด ”เสียงกรน” จากการพยายามให้แรงดันอากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบ ซึ่งหากกล้ามเนื้อหย่อนคล้อยมาก ๆ ก็อาจจะทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น จนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ส่งผลให้ขณะหลับร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วง ๆ จนไม่สามารถหายใจเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายและอาจเสียชีวิตได้

 

ความรุนแรงของการนอนกรน 3 ระดับ  

ความรุนแรงระดับ 1 

การนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ แต่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของบุคคลที่นอนข้าง ๆ 

ความรุนแรงระดับ 2 

การนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน  

ความรุนแรงระดับ 3 

การนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นเวลาประมาณ 10 วินาที ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

แน่นอนว่าตอนเรานอนเราไม่ใช่ผู้ที่ได้ยินเสียงกรนนั้น สำหรับใครที่นอนคนเดียวก็สามารถประเมินระดับการนอนกรนจากการใช้แอปพลิเคชัน “SnoreLab” เพื่อทำการบันทึก วัด และติดตามการกรนของตัวเองเบื้องต้นได้ หรือจะไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินอาการนอนกรนด้วย sleep test เพื่อความแม่นยำก็จะดีมาก ๆ เลย 

 

การรักษาอาการนอนกรน 

Photo cpap machine with air hose and head mask on bedside table

โดยส่วนใหญ่แพทย์ก็จะแนะนำให้เรารักษาด้วยเครื่อง CPAP ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจอย่างหนึ่งที่ช่วยให้คนที่นอนกรนส่วนมากหายใจได้สะดวก สบาย ตลอดเวลาที่ใช้เครื่องตัวนี้ไปพร้อมกับการนอนหลับ ซึ่งตัวเครื่องนี้จะใช้หลักของแรงดันอากาศในเวลาที่เราหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทำให้สามารถช่วยแก้ปัญหาของอาการนอนกรนได้

แต่ข้อจำกัดของเครื่อง CPAP คือ ราคาแพง ใช้งานแล้วรู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะถ้าต้องใช้งานที่ระดับแรงดันสูง ๆ ต้องคอยนำผลการใช้เครื่องไปพบแพทย์ เพื่อปรับตั้งแรงดันให้เหมาะสมอยู่เสมอ แต่ปัจจุบันมีทางเลือกรักษาอาหารนอนกรนด้วย เลเซอร์ Snorelase 

 

Snorelase แก้นอนกรนได้อย่างไร

SnoreLase นวัตกรรมใหม่ล่าสุดในรักษาอาการนอนกรนด้วยการใช้เลเซอร์ ซึ่งได้รับการออกแบบและพัฒนาให้สามารถส่งพลังงานลงลึกถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวที่บอบบางภายในช่องปาก ทำให้เกิดการหดกระชับของกล้ามเนื้อ ลดการปิดกั้นทางเดินหายใจ 

 

หลังจากทำครั้งแรกจะช่วยแก้ไขอาการนอนกรนได้ 20-30% ซึ่งหากยิงอย่างต่อเนื่องก็จะช่วยทำให้อาการกรนลดลงอย่างชัดเจน สามารถขยับ Class ได้พอสมควร นอกจากนี้ ยังเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาชา ไม่ต้องฉีดยา ไม่เจ็บ อีกทั้งยังไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการรักษา ไม่ต้องพักฟื้นหลังการรักษา ทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที

 

ใช้เวลาในการทำนานหรือไม่?

การรักษาอาการนอนกรนด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาในการทำแต่ละครั้งประมาณ 45-60 นาที เพียงเดือนละ 1 ครั้ง โดยผลการรักษาจะเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นหลังจากการทำในครั้งที่ 3-6 ขึ้นอยู่กับอาการและสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล

 

ผลลัพธ์หลังทำอยู่ได้นานหรือไม่?

โดยปกติแล้วควรทำซ้ำอย่างน้อย 3-6 ครั้ง ขึ้น อยู่กับอาการและสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล โดยหลังจากทำครบคอร์สแล้ว จะสามารถเห็นผลความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้ประมาณ 50% และผลของการรักษาจะคงอยู่ได้ 6-12 เดือน หลังจากนั้นอาจมีการนัดเพิ่มเติม ตามคำแนะนำของแพทย์

 

APEX Life Center : ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและชะลอวัยเอเพ็กซ์ 
เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา เพื่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับคุณ
Line : @apexlifecenter https://lin.ee/somJkar
Facebook : Apex Life Anti-Aging
Tel. : 0850000855

 

apex