ไหลตาย หลับสุดท้ายที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน!

ทุกคนสามารถเกิดการไหลตายได้
ไหลตาย เกิดขึ้นได้กับทุกคน

” ไหลตายเกิดบ่อยขึ้นในประเทศไทย ซึ่งโรคไหลตาย หรือภาษาอังกฤษเราจะเรียกว่า SUDS : sudden unexpected death syndrome มักจะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว คนไทยมักจะเรียกอาการไหลตายนี้ว่า หลับแล้วไม่ตื่น “


          ถ้าเป็นความเชื่อโบราณมักจะเชื่อว่า การหลับไม่ตื่นคือการที่คนเสียชีวิตคนนั้นได้จากไปอย่างสงบ แต่ความจริงเราคงไม่อยากเสียใครไปอย่างกะทันหัน หรืออาจเป็นตัวเราเองที่เกิดการไหลตายแบบไม่ทันตั้งตัว เพราะฉะนั้นเราต้องเช็คตัวเองด่วน ว่าเสี่ยงไหลตายในอนาคตหรือเปล่า

หัวข้อ
 – ไหลตาย สาเหตุเกิดจากอะไร
 – อาการของโรคไหลตาย
 – เช็คลิสต์เราเสี่ยงใหลตายอยู่ไหม
 – หยุดหายใจขณะหลับ VS ใหลตาย
 – วิธีป้องกันโรคไหลตาย
 – สรุป

ไหลตาย สาเหตุเกิดจากอะไร

          ยังไม่มีผลวิจัยแน่ชัดในสาเหตุหลักของการไหลตาย แต่มีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงสาเหตุของการไหลตายหลักๆอยู่ 4 วิธีด้วยกัน ได้แก่

  1. เกิดจากพันธุกรรม ถ้าเกิดว่าคนในครอบครัวหรือญาติของเรานอนแล้วเสียชีวิตกะทันหันอาจทำให้เกิด การกลายพันธ์ทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจระหว่างการนอน
  2. เกิดจากการใช้สารเสพติด หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สะสมเป็นเวลานาน
  3. กิดจากร่างกายขาดแร่โพแทสเซียม ที่ได้มาจากการรับประทานผัก และผลไม้ โดยการที่แร่โพแทสเซียมจะเข้าไปปรับสมดุลน้ำในร่างกายเพื่อทำให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ
  4. ปัจจัยที่เป็นไปได้อื่นๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคไหลตายได้ คือ
    4.1 โรคหัวใจ
    4.2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
    4.3 ยาบางชนิด
           แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้จะต้องการงานวิจัยเพิ่มเติม แต่ถ้าเกิดมีอาการ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ หรือใจสั่น ควรไปพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด การไหลตายในอนาคต

                                                            ปรึกษาฟรี

โรคไหลตายมีอาการอย่างไร
อาการเสี่ยงของโรคไหลตาย

อาการของโรคไหลตาย

           ถึงแม้ว่าเรามักจะได้ยินข่าวว่าคนที่เป็นโรคไหลตายนั้น จะเสียชีวิตไปเลยขณะนอนหลับดูแล้วไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ในร่างกายมาก่อนเลย แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีอาการบางอย่างมาก่อน แล้วมาพบแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งแพทย์เฉพาะทางได้ตรวจวินิจฉัยจนพบว่าเป็นโรคไหลตาย ซึ่งอาการดังกล่าวที่พบได้แก่

  • ใจสั่น
  • หมดสติไปชั่วขณะ
  • วูบ เป็นลม
  • เวียนศีรษะ
  • ชัก
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก 
  • เคยตรวจพบว่ามีหัวใจห้องบนหรือห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
  • กรณีที่อาการกำเริบระหว่างนอนหลับอาจมีเสียงหายใจครืดคราดคล้ายละเมอ
เราเสี่ยงไหลตายหรือไม่เช็คได้ด้วย 5 ข้อนี้
5 เช็คลิสต์เสี่ยงไหลตายหรือไม่

  ปรึกษาฟรี

เช็คลิสต์เราเสี่ยงใหลตายอยู่ไหม

พฤติกรรมที่เสี่ยงจะเป็นโรคไหลตาย มีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อหลักๆ ได้แก่
– การดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ
– การใช้ยานอนหลับที่ไม่อยู่ในการควบคุมของแพทย์
– มีนิสัยการกินที่ผิด
– มีอาการนอนกรนที่หนักมาก เกิดภาวะหยุดหายใจขณะร่วมด้วย
– มีการใช้สารเสพติดก่อให้เกิดการทำลายระบบต่างๆในร่างกาย

ไหลตายกับหยุดหายใจขณะหลับต่างกันยังไง
ความแตกต่างของหยุดหายใจขณะหลับและไหลตาย

หยุดหายใจขณะหลับ VS ใหลตาย 

         ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และ โรคใหลตาย เป็นสองภาวะที่ส่งผลต่อการนอนหลับโดยตรง แต่สาเหตุหลักของภาววะหยุดหายใจขณะหลับและใหลตายไม่จำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกัน
         อาการหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก การคลายตัวของกล้ามเนื้อในลำคอ  อาจทำให้ทางเดินหายใจตีบหรือปิดสนิท ส่งผลให้สะดุ้งตื่นตอนกลางคืนได้
         โรคไหลตาย จะมีการเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดและกะทันหันซึ่งหลายๆคนมักจะเรียกโรคไหลตายว่าการนอนหลับแล้วไม่ตื่น โดยมักจะไม่แสดงอาการล่วงหน้า
          แต่มีรายงานผลการเสียชีวิตของโรคไหลตายเกิดขึ้นในบุคคลที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือผลวิจัยที่รองรับมากพอ
          ทั้งสองโรคร้ายแรงนี้ไม่ว่าจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือใหลตาย อาจจะส่งผลร้ายแรงของสุขภาพถ้าปล่อยไว้โดยไม่รักษา หากเราสงสัยว่ามีความเสี่ยงควรพบหมอโดยด่วน เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงนี้ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราได้

 ปรึกษาฟรี

โรคไหลตายป้องกันได้ด้วย 5 วิธี
วิธีป้องกันโรคไหลตาย

วิธีป้องกันโรคไหลตาย

  • พบแพทย์ถ้ามีอาการใดๆเกี่ยวกับหัวใจ 
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และสารเสพติด
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูงและมีคาร์โบไฮเดรตสูง
  • พยายามจัดการความเครียด เพราะความเครียดจะทำให้กระทบกับการนอนหลับและปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
  • ฝึกให้ตนเองมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี

ปรึกษาฟรี

สรุป

            ไหลตาย เป็นการเสียชีวิตแบบกระทันหันขณะนอนหลับ ดังนั้นเราควรตรวจเช็คสุขภาพของเราอยู่เสมอ โดยเฉพาะสุขภาพของการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ สุขภาพการนอนหลับ เพื่อป้องกันโรคไหลตายในเบื้องต้น ใครที่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการสะดุ้งตื่นตอนกลางคืน ปวดหัวหลังจากตื่นนอน หรือรู้สึกว่าตัวเองนอนเยอะแล้วแต่ง่วงอยู่ อย่านิ่งนอนใจหรือปล่อยเอาไว้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโดยด่วน