6 สาเหตุ เกิดอาการนอนกรน ที่ควรรู้

นอนกรนไม่ใช่แค่เรื่องความน่ารำคาญของคู่ชีวิต แต่การนอนกรนยังบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ซึ่งปัญหาการนอนกรนนี้เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตเราได้โดยไม่รู้ตัว ใครรู้ว่าตัวเองมีอาการนอนกรน หายใจติดขัดตอนนอน โดยก่อนที่เราจะไปจัดการปัญหานี้กัน เราต้องรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนกันก่อน เพื่อที่เราจะได้จัดการปัญหานี้ได้ตรงจุดมากขึ้น

 

อาการนอนกรน

การนอนกรนเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในช่องปากจะผ่อนคลายและหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และเนื่องจากช่องลมถูกปิดกั้นจนเล็กลงจึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น ซึ่งการนอนกรนอาจจะทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) จนอาจจะอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

6 สาเหตุ เกิดอาการนอนกรน ที่ควรรู้

  1. พันธุกรรม

Dna closely

พันธุกรรมจะกำหนดลักษณะใบหน้าและขากรรไกรที่อาจเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะคนที่มีคางเล็กหรือกระดูกแก้มแบนอาจจะทำให้ช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอแคบ และเป็นสาเหตุของอาการนอนกรนได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่มีประวัติโรคนอนกรนในครอบครัวจะมีโอกาสเป็นโรคนอนกรนได้มากขึ้น 

 

  1. โรคอ้วน

Obesity problems plus size female hate her body beauty standards and bands centimeter measuring tape insecure needs healthy weight loss diet anonymous medium studio shot photo on white background

โรคอ้วนสามารถทำให้เรานอนกรนได้ เนื่องจากไขมันที่สะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณเนื้อเยื่อรอบคอหอย ที่จะส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนต้นบริเวณโคนลิ้นและเพดานปากหย่อนลง มีการตีบแคบและตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ส่งผลให้ขณะหลับร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วง ๆ ทำให้หายใจลำบากมากขึ้น จนเกิด ”เสียงกรน” จากการพยายามให้แรงดันอากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบ 

 

  1. เพศ

Gender equality concept

เพศชายมีแนวโน้มที่จะกรนมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากฮอโมนเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจมีความตึงตัวที่ดีกว่า 

 

  1. ยา/แอลกอฮอล์

Pharmacist holding medicine box and capsule pack in pharmacy drugstore.

การนอนกรนเล็กน้อยหรือเป็นระยะ ๆ อาจเป็นผลมาจากยาหรือแอลกอฮอล์ที่ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนคลายอ่อนแรง ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายขึ้น และมีผลกับการทำงานของสมอง ทำให้สมองตื่นขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อภาวะการขาดออกซิเจนได้ช้า

 

  1. สูบบุหรี่

Closeup shot of a person puffing on a cigarette surrounded with smoke

การสูบุหรี่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบทางเดินหายใจแย่ลง โดยการวิจัยหนึ่งได้สำรวจชายและหญิงกว่า 15,000 คน อายุ 24-54 ปี ของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ผลปรากฏว่าร้อยละ 24 ของคนที่นอนกรนมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ อีกร้อยละ 20 ของคนที่นอนกรนเคยสูบบุหรี่มาก่อน ส่วนร้อยละ 14 ไม่เคยสูบบุหรี่ โดยยิ่งสูบบุหรี่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งกรนบ่อยขึ้นเท่านั้น และแม้แต่ผู้สูบบุหรี่มือสองที่ได้รับควันจากคนใกล้ชิดมาก ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะมีอาการนอนกรนเช่นเดียวกับผู้สูบ

 

  1. อายุมาก 

เมื่ออายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อของทางเดินหายใจบริเวณลำคอหย่อนยานและขาดความตึงตัว ทำให้ตกไปขวางทางเดินหายใจได้ง่าย โดยพบว่าอายุ 30-35 ปี ผู้ชายนอนกรน 20% ผู้หญิงนอนกรน 5% และอายุ 45-60 ปี ผู้ชายนอนกรน 60% ผู้หญิงนอนกรน 40% เลยทีเดียว

 

การรักษาภาวะนอนกรน

  1. ลดน้ำหนัก
  2. ใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกในทางเดินหายใจ (CPAP) 
  3. ผ่าตัดเพดานในช่องปากหรือตัดกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้น

Middle age man wearing cpap mask and headgear to help with his sleep apnea while sleeping in his bed

สำหรับใครที่รู้ว่าเรานอนกรนมาจากสาเหตุอะไร สามารถรักษาอาการนอนกรนตามสาเหตุนั้น ๆ ได้เลย แต่หากสาเหตุการนอนกรนของเราเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ได้ เช่น เพส อายุ พันธุกรรม ก็สามารถใช้เลเซอร์เป็นตัวช่วยแก้ปัญหานอนกรนได้เช่นกัน

 

SnoreLase บอกลาปัญหานอนกรน โดยไม่ต้องผ่าตัด

 

Q : SnoreLase คืออะไร?

A : SnoreLase นวัตกรรมใหม่ล่าสุดในรักษาอาการนอนกรนด้วยการใช้เลเซอร์ ซึ่งได้รับการออกแบบและพัฒนาให้สามารถส่งพลังงานลงลึกถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวที่บอบบางภายในช่องปาก ทำให้เกิดการหดกระชับของกล้ามเนื้อ ลดการปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้อาการกรนลดลงอย่างชัดเจน ตั้งแต่การรักษาครั้งแรก นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาชา ไม่ต้องฉีดยา ไม่เจ็บ อีกทั้งยังไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการรักษา ไม่ต้องพักฟื้นหลังการรักษา ทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที

 

Q : ข้อควรระวังก่อนทำมีอะไรบ้าง?

A : การทำ SnoreLase สามารถทำได้กับคนทุกเพศทุกวัยที่มีอาการนอนกรน  ขึ้นอยู่กับอาการและสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล ทว่าผู้ที่มีประวัติของอาการเริมกำเริบภายใน 1 ปีก่อนทำ และผู้ที่มีแผลในปากควรหลีกเลี่ยงการทำ เนื่องจากเลเซอร์อาจไปกระตุ้นให้เกิดเริม หรือทำให้แผลในปากยิ่งระคายเคืองได้

 

Q : ใช้เวลาในการทำนานหรือไม่?

A : การรักษาอาการนอนกรนด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาในการทำแต่ละครั้งประมาณ 45-60 นาที เพียงเดือนละ 1 ครั้ง โดยผลการรักษาจะเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นหลังจากการทำในครั้งที่ 3-6 ขึ้นอยู่กับอาการและสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล

 

Q : ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SnoreLase เป็นอย่างไร?

A : วิธีนี้สามารถแก้ปัญหานอนกรนได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ โดยหลังจากทำครั้งแรกจะช่วยแก้ไขอาการนอนกรนได้ 20-30% ทำให้การนอนหลับกลับสู่ภาวะปกติ หลับสนิทมากขึ้น ผู้เข้ารับการรักษาจะสามารถรู้สึกได้ถึงความรู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอนในวันรุ่งขึ้นทันที ไม่มีอาการปากแห้งในตอนเช้า อีกทั้งยังช่วยให้เสียงกรนในขณะนอนหลับลดลงอย่างชัดเจน

 

Q : ผลลัพธ์หลังจากการทำอยู่ได้นานหรือไม่?

A : โดยปกติแล้วการทำ ควรทำซ้ำอย่างน้อย 3-6 ครั้ง ขึ้นอยู่กับอาการและสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล โดยหลังจากทำครบคอร์สแล้ว จะสามารถเห็นผลความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้ประมาณ 50% และผลของการรักษาจะคงอยู่ได้ 6-12 เดือน หลังจากนั้นอาจมีการนัดเพิ่มเติม ตามคำแนะนำของแพทย์

 

APEX Life Center : ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและชะลอวัยเอเพ็กซ์ 
เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา เพื่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับคุณ
Line : @apexlifecenter https://lin.ee/somJkar
Facebook : Apex Life Anti-Aging
Tel. : 0850000855

 

apex