มาทำความรู้จัก Hyperhidrosis ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

มาทำความรู้จัก Hyperhidrosis ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ 

จริงอยู่ที่หน้าร้อนกับเหงื่อเป็นของคู่กัน แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะร่างกายขับเหงื่อมากผิดปกติหรือ #Hyperhidrosis เรื่องเหงื่อสามารถสร้างความไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้เลยทีเดียว  แต่ไม่ต้องกังวลค่ะเพราะเดี๋ยวนี้มีตัวช่วยมากมาย ในการลดเหงื่อทั้งการฉีดและการใช้เครื่องมือ 

เหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) 

คืออาการที่ผู้ป่วยโรคนี้จะมีเหงื่อออกมากเฉพาะที่ เช่น บริเวณหน้า, มือ, เท้า, และรักแร้ จนขาดความมั่นใจและเป็นอุปสรรคในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกทางผิวหนังมากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องของระบบประสาท ระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ การเจ็บป่วย หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้สัมพันธ์กับสภาพอากาศ อย่างสภพอาการที่ร้อน การออกกำลังกาย และภาวะตื่นเต้นหรือเครียดเกินไป

สาเหตุ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 

1.กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (Primary Hyperhydrosis) กลุ่มนี้จะมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เกิดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จะมีเหงื่อออกเฉพาะจุด  เช่น ใบหน้า ศีรษะ รักแร้ ฝ่ามือ มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี หรือคนในครอบครัวมีอาการ

2.กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย (Secondary Hyperhydrosis) เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, เบาหวาน, วัยทอง, ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด, น้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น   

ต้องทำการรักษาตอนไหน   

เบื้องต้นนั้นแพทย์จะต้องจำแนกคนไข้ก่อนว่ามีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติในระดับใด โดยดูจากลักษณะการออกของเหงื่อ โรคนี้เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้โดยตรง เช่น อาการเหงื่อออกมากเกินบริเวณใต้วงแขน ทำให้มีคราบที่เสื้อ ส่งผลต่อภาพลักษณ์ , สูญเสียความมั่นใจ , มีปัญหาในการเล่นดนตรี/เล่นกีฬาที่ต้องใช้มือเป็นหลัก ผู้ป่วยที่ควรเข้ารับการรักษา คือ ผู้ป่วยที่มีอาการเหงื่อออกมือมากจนกระทบกับการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

การรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

1.การฉีดลดการทำงานของต่อมเหงื่อ แพทย์อาจฉีดโบทอกซ์ หรือสาร โบทูลินั่มท็อกซิน เอ เพื่อกดการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ ก่อนฉีดต้องประคบน้ำแข็งหรือฉีดยาชา และแพทย์ต้องฉีดยาซ้ำๆ ในบริเวณที่มีอาการ โดยเฉพาะมือ รักแร้ หรือเท้า ซึ่งฤทธิ์ยาจะอยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน

2.การใช้เครื่องในกลุ่มเลเซอร์ลดเหงื่อทำให้ต่อมเหงื่อเล็กลง  ระงับต่อมเหงื่อ และใช้ระยะในการทำไม่นาน ซึ่งผลลัพธ์อยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน

ภาวะแทรกซ้อนของเหงื่อออกมาก

  • มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคผิวหนังติดเชื้อหากผิวหนังถูกทำลาย เช่น หูดจากเชื้อไวรัส สังคังจากเชื้อราบริเวณขาหนีบ หรือติดเชื้อราที่เท้าโดยเฉพาะบริเวณนิ้วเท้า เป็นต้น
  • เกิดการหมักหมมของเหงื่อไคลจนเป็นเหตุให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ แต่มักไม่รุนแรง

การป้องกันเหงื่อออกมาก

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ผสมสารลดเหงื่อจำพวกอะลูมิเนียมคลอไรด์ทั้งในระหว่างวันและก่อนนอน เพื่อช่วยปิดต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ มือ เท้า
  • อาบน้ำทำความสะอาดเป็นประจำ วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อนอย่างชาและกาแฟ รวมทั้งแอลกอฮอล์และอาหารรสเผ็ด เพราะอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของเหงื่อ

การรักษา ทั้ง 2 วิธีนี้นับว่าเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วและไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ สำหรับใครที่มีภาวะร่างกายขับเหงื่อมากผิดสามารถนัดปรึกษาแพทย์และสอบเพิ่มเติมได้ที่เอเพ็กซ์เลยค่ะ 💜

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @apexbeauty (มี @ นำหน้า) APEX ของเรามีทีมแพทย์ผูเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีเครื่องมือที่ทันสมัยและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน คอยให้บริการทุกท่านอยู่นะคะ