Dyslipidemia ภาวะความผิดปกติของระดับไขมัน

diet-to-lose-body-fat

Dyslipidemia คือ โรคภาวะความผิดปกติของระดับไขมัน แต่ก่อนที่จะเราจะกล่าวถึงนั้น เราควรทำความรู้จักกับตัวแทนไขมันชนิดต่างๆ กันก่อน HDL, LDL และ ไตรกลีเซอไรด์ หรือจำง่ายๆ เป็น ‘HDL’ คือ ไขมันดี ‘LDL’ คือไขมันเลว ส่วน ‘ไตรกลีเซอไรด์’ คือ สารอาหารประเภทไขมันที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายโดยตับและลำไส้เล็กที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งเราสามารถรู้ค่าต่างเหล่านี้ได้จากผลตรวจเลือดและอ่านค่าได้จากตารางดังนี้

1477554310876

ระดับความผิดปกติของระดับไขมันแน่นอนว่าเกิดจากบริโภคอาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์มากจนเกินไป ประกอบกับกิจวัตรประจำ การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ รวมถึงการที่ไม่ได้ออกกำลังกาย เพราะพลังงานที่รับเข้ามาในแต่ละวันเราควรที่จะเผาผลาญออกไปอย่างน้อย 500 แคลอรี่ต่อวัน ดังนั้นภาวะความผิดปกติของระดับไขมันจึงเกิดขึ้น ระดับของคอเลสเตอรอลโดยรวมและ LDL คอเลสเตอรอลที่สูงขึ้นคือตัวบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่นเดียวกับระดับของ HDL ที่มีค่าต่ำกว่าปกติ การเพิ่มสูงขึ้นของไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลเป็นสารไขมันที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งที่พบบริเวณผนังเซลล์ และจะลอยไปตามกระแสเลือดโดยจะถูกสร้างขึ้นจาก “ตับ” และสาเหตุหลักก็มาจากโภชนาการอาหารที่เราไม่ได้เลือกทานให้ดีให้เหมาะสม

แต่ถึงอย่างไรคอเลสเตอรอลก็ไม่ได้มีผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย เพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน วิตามินดี และพบอยู่ในน้ำดี เพื่อใช้ในการย่อยสลายไขมัน คอเลสเตอรอลจะหมุนเวียนอยู่ในร่างกายซึ่งจะไปจับกับโปรตีน จึงเรียกว่า Lipoprotein

senior-man-having-a-stroke-heart-attack-175118603-576b222b5f9b58587574c1eb

ประเภทของ Lipoprotein

  • Low-density lipoprotein (LDL): เป็นตัวนำพาคอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ในกระแสเลือดประมาณ 60-70% ถือว่าเป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และมีบทบาทที่ทำให้เกิดการสะสมและอุดตันในเส้นเลือด
  • Very low-density lipoprotein (VLDL): มีหน้าที่หลักในการนำพาไตรกลีเซอไรด์ลอยไปตามกระแสเลือดซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 10-15% ของคอเลสเตอรอลทั้งหมด โดยไตรกลีเซอไรด์เป็นรูปแบบของไขมันที่มีส่วนของ HDL ต่ำ และ LDL สูง
  • High-density lipoprotein(HDL): จัดว่าเป็นคอเลสเตอรอลชั้นดี สามารถสร้างขึ้นมาได้จากลำไส้และตับจะมีอยู่ประมาณ 20-30% ของคอเลสเตอรอลทั้งหมด ยิ่งถ้ามีปริมาณมากความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจจะลดลง
  • Non-HDL Cholesterol (non-HDL): หมายถึงปริมาณของคอเลสเตอรอลทั้งหมดและหักในส่วนของ HDL ออกไป หรือเป็นผลรวมระหว่าง LDL, VLDL และ intermediate-density lipoprotein (IDL) คุณลักษณะใกล้เคียงหรือมากกว่า LDL ในการทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเส้นเลือดทำให้เกิดการเป็นโรคหัวใจตามมา

การรักษาโดยทั่วไปจะใช้การดูแลเรื่องโภชนาการ การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการใช้ยาซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะจากคำแนะนำของ NCEP ได้กล่าวไว้ว่าควรรักษาโดยไม่ใช่ยาก่อนเป็นเวลา 6 เดือน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาในการรักษาขึ้นต่อไป

e1

Exercise Guidelines

ก่อนเริ่มการออกกำลังกายกับครูผู้ฝึกสอนส่วนตัว ผู้ที่มีภาวะความผิดปกติของระดับไขมันควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากอาจจะไม่ได้มีปัญหาความผิดปกติของระดับไขมันเพียงอย่างเดียว อาจมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่ น้ำหนักตัวเกิน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไม่ค่อยหรือไม่เคยมีประวิติการออกกำลังกายมาก่อน ดังนั้นโปรแกรมการออกกำลังจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นสิ่งสำคัญที่ทางครูผู้ฝึกจะต้องทราบถึงคำแนะนะของแพทย์ร่วมด้วย แต่ถ้าในผู้ที่มีระดับไขมันผิดปกติเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ สามารถออกกำลังกายได้

การออกกำลังกายและควบคุมอาหารจะมีผลอย่างมากในการควบคุมระดับของคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ มีส่วนทำให้ระดับของ HDL เพิ่มมากขึ้น เป็นส่วนสำคัญต่อการลดความเสี่ยงของการเกิด และเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ในส่วนของระดับไตรกลีเซอไรด์ก็เช่นกัน สามารถลดลงได้ทันทีภายหลังออกกำลังกาย ซึ่งจะลดลงภายใน 18 – 24 ชั่วโมงหลังออกกำลังกาย และจะลดอย่างต่อเนื่องไปได้ถึง 48 – 72 ชั่วโมง

มาเริ่มสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นส่ใจเรื่องโภชนาการอาหาร และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยนำการออกกำลังกายมาเป็นเรื่องใกล้ตัว การทำเช่นนี้เท่ากับว่าเรากำลังผลักความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ให้ไกลออกไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Facebook : m.me/apexprofoundbeauty
LINE : @apexbeauty

www.apexprofoundbeauty.com

apexhaircenter

ขอขอบคุณผู้เขียนบทความ #Coachpomme