ฮอร์โมน สำคัญอย่างไร?

ฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศ,ภาวะพร่องฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศต่ำ

      เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า อะไรที่ทำให้เราแบ่งความเป็นหญิงหรือชาย นอกเหนือไปจากสรีระร่างกายภายนอก พอเจริญวัยขึ้น ผู้ชาย ก็จะมีหนวดเครา เสียงทุ้มใหญ่ รูปร่างมีกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น สนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น ส่วนผู้หญิง ก็จะมีหน้าอกเต้านมโตขึ้น ส่วนโค้งส่วนเว้าของร่างกายชัดเจนขึ้น มีประจำเดือน สนใจความสวยความงามมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งอันที่จริงแล้วความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ล้วนเกิดมาจากสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า “ฮอร์โมน” นั่นเอง ซึ่ง นพ.พลวัฒน์ ปรีชาบริสุทธิ์กุล แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ของ Apex ได้ให้คำอธิบายไว้อย่างน่าสนใจ ว่า

ฮอร์โมน คือ สารที่ร่างกายและเซลล์ใช้สื่อสารระหว่างกัน สมมติว่าเราต้องการให้ร่างกายเกิดการทำงานของเซลล์หรืออวัยวะต่าง ๆ เช่น การเผาผลาญพลังงาน หรือผลิตในเรื่องของเพศ ผลิตน้ำอสุจิ การมีประจำเดือน ก็จะใช้ฮอร์โมนในการสื่อสาร พยายามให้เกิดฟังก์ชั่น หรือระบบการทำงานต่างๆ ของอวัยวะ”

หน้าที่ของฮอร์โมน

       “หน้าที่หลักๆ ของฮอร์โมน มีหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างเซลล์ และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย”

ความสำคัญของฮอร์โมน 

       “ถ้าเราไม่มีฮอร์โมน หน้าที่ของอวัยวะบางส่วน หรือเซลล์บางเซลล์ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ 100% แล้วมันจะค่อยเสื่อมลงไปเรื่อยๆ”

ฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศ,ภาวะพร่องฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศต่ำ

ประเภทของฮอร์โมน

       ฮอร์โมนถ้าแบ่งตามเรื่องของการสร้างและสารตั้งต้นที่ใช้ในการสร้าง จะมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ฮอร์โมนประเภทโปรตีน Peptide Hormone, ฮอร์โมนประเภท Steroid Hormone และฮอร์โมนประเภท Derivative Hormone แต่ถ้าแบ่งตามลักษณะของการทำงานก็จะมีในเรื่องของการเผาผลาญและภูมิคุ้มกัน”

ฮอร์โมนเพศ ต่างจาก ฮอร์โมนทั่วไปอย่างไร

       ฮอร์โมนเพศสร้างจากคลอเลสเตอรัลและไขมัน โดยฮอร์โมนเพศจะมีความเสี่ยงที่เกิดการต่ำได้ง่ายที่สุด เพราะว่า คลอเลสเตอรัลหรือไขมันเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งฮอร์โมนเพศเป็นลำดับสุดท้าย เพราะฉะนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนชนิดอื่นมากกว่า ก็จะหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศ ซึ่งฮอร์โมนเพศไม่ได้มีหน้าที่เพียงในเรื่องของความรู้สึกทางเพศอย่างเดียว แต่จะมีในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก การตัดสินใจ ความมั่นใจในตนเอง ความสดใสในชีวิต เพราะฉะนั้นคนที่มีฮอร์โมนเพศต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้สึกทางเพศลดลง เพียงแค่มีความรู้สึกหดหู่ในชีวิต ความสุขในชีวิตเริ่มลดลง หรือว่าการควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติ สังเกตง่ายๆ คือ เรื่องของผู้หญิงที่มีประจำเดือน ในช่วงที่ฮอร์โมนเพศหญิงเกิดการสวิง ผู้หญิงก็จะมีการควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติมากขึ้น เราจะเห็นว่าผู้หญิงบางคนมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียวง่าย ซึ่งก็คือความผิดปกติของฮอร์โมนเพศนั่นเอง จึงทำให้เกิดอารมณ์ที่ผิดปกติไป”

ฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศ,ภาวะพร่องฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศต่ำ

ในแต่ละช่วงวัย  ฮอร์โมนเพศหญิงและชายมีความแตกต่างกันอย่างไร

       “อันที่จริงทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีทั้งฮอร์โมนของเพศชายและหญิง เพียงแต่ฮอร์โมนใดจะเด่นกว่า ซึ่งในแต่ละช่วงวัยของชีวิตมีความแตกต่างกัน

       “สำหรับเพศหญิงในช่วงวัยรุ่น อายุ 20 – 25 ปี เป็นช่วงที่เราเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ก็จะเป็นช่วงที่เราผลิตฮอร์โมนได้มากที่สุด และหลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ลดลงตามช่วงอายุ และในส่วนของผู้ชายก็จะเป็นลักษณะนี้ คือ ในช่วงอายุ 25 ปี ก็จะมีฮอร์โมนมากที่สุด และลดลงตามช่วงอายุ เพียงแต่จะไม่มีการหยุดสร้างฮอร์โมนเพศ แต่จะมีปริมาณน้อยลงตามอายุและความเสื่อมของร่างกาย ถ้าเราใช้ร่างกายมากเกินไป หรือความเสื่อมจากการรับลดมลพิษหรือสารพิษหรืออนุมูลอิสระต่างๆ ก็จะทำให้เกิดความเสื่อมเร็วขึ้น ก็จะสร้างฮอร์โมนเพศได้น้อยลง

       “ฉะนั้นตั้งแต่อายุ 30 – 40 ปี ก็จะเริ่มเห็นว่ามีฮอร์โมนเพศต่ำ ซึ่งอันนี้ก็พบได้ในผู้ชายปัจจุบันนี้ เพราะสังคมเมืองของเราเป็นแบบนั้น ในส่วนของผู้หญิงจะแตกต่างจากผู้ชาย คือ ผู้หญิงจะมีช่วงที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หยุดการสร้างฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงของการมีรอบเดือน ระหว่างรอบเดือนฮอร์โมนเพศหญิงก็จะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือน้อยลงเป็นรอบของประจำเดือน เพราะฉะนั้นระดับโดยเฉลี่ยก็จะเหมือนกัน ก็จะเป็นช่วงอายุ 20 – 25 ปี เป็นช่วงที่สร้างได้มากที่สุด หลังจากนั้นค่อยๆ ลดลง และจะหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศในช่วงอายุ 45 – 50 ปี ที่เรียกกันว่า “วัยทอง” ช่วงนั้นก็จะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 50 ปี พอหมดก็จะไม่มีประจำเดือน”

ฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศ,ภาวะพร่องฮอร์โมน,ฮอร์โมนเพศต่ำ

ปัญหาเมื่อเกิดภาวะพร่องฮอร์โมน

       “เมื่อเกิดภาวะพร่องฮอร์โมน จะทำให้เกิดปัญหา คือ ในช่วงจังหวะที่ฮอร์โมนเพศลดลง โดยที่ไม่ใช่ตามช่วงอายุ หรือตามสรีรวิทยาของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดผลต่อร่างกาย เช่น เราอายุ 30 ปี แต่ฮอร์โมนเพศลดลงไปแล้ว สร้างได้น้อยกว่าปกติ ก็จะส่งผลถึงเพศชาย ในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ การตื่นตัวอวัยวะเพศ การสร้างมวลกระดูก และการสร้างมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าเป็นเพศหญิง ฮอร์โมนที่ลดลง ก็จะมีผลในเรื่องของประจำเดือน อารมณ์ที่ผิดปกติ กระดูก มวลกระดูก ซึ่งเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มาก เพราะฉะนั้นฮอร์โมนเพศจึงมีความสำคัญไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึกทางเพศเท่านั้น”

       จากที่ นพ.พลวัฒน์ อธิบายมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนมีบทบาทหน้าที่และความสำคัญกับเราเป็นอย่างยิ่ง หากเกิดภาวะพร่องฮอร์โมน หรือฮอร์โมนลดต่ำลง ก็จะทำให้เกิดภาวะความผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงทางด้านสังคมด้วย ดังนั้นหากเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนนี้ขึ้น จึงควรมาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา