ตรวจเช็คภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone Deficiency Syndrome)

    การตรวจวินิจฉัยภาวะฮอร์โมน Testosterone

    การตรวจวินิจฉัยเช็คระดับความผิดปกติของฮอร์โมน แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อดูการกระจายของขนตามร่างกายว่าเป็นไปตามลักษณะเพศชายหรือไม่ โดยจะตรวจขนาดของหน้าอก, ความสม่ำเสมอและขนาดของอัณฑะ, ถุงอัณฑะและอวัยวะเพศชาย และจะมีการเจาะตรวจวัดระดับฮอร์โมน Testosterone ในเลือดว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่

    ซึ่งที่ Men,s Health By Apex medical center จะใช้ค่าอ้างอิงระดับ Testosterone ปกติ โดยมีหน่วยเป็น ng/mL โดยใช้ค่าอ้างอิง (reference value)

    • ผู้ชายอายุ 20-49 ปี 2.49–8.36  ng/ml.
    • ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป 1.93–7.40  ng/ml.

    *เจาะเลือดปริมาณ 6 ml. ใส่หลอดเก็บเลือดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งและนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 2 ชั่วโมง

    รักษาภาวะฮอร์โมน Testosterone ต่ำอย่างไร

    การรักษาผสมผสาน กับการรักษาแบบด้านเวชศาสตร์ชลอวัยโดยการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนเสริม ยากินหรือกลุ่มวิตามินจะสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้ชายให้ดีขึ้นได้ เช่น เพิ่มความรู้สึกทางอารมณ์และการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น รู้สึกมีพลังกระฉับกระเฉงมากขึ้น มีความสนใจทางเพศมากขึ้น การขนงอกตามร่างกาย ความหนาแน่นของกล้ามเนื้อ ซึ่งวิธีการรักษาแบบเสริมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน มีหลายวิธีได้แก่ การฉีด การแปะแผ่นที่ผิวหนัง การทาเจลและการให้ยารับประทานขึ้นกับการประเมินของแพทย์

    การดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลเสียต่อระดับฮอร์โมน เช่น ควรออกไปรับแดดตอนช่วงเช้าหรือช่วงเย็นเป็นเวลาอย่างน้อย 15-20นาที ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอและกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ถูกสัดส่วน ช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายมีความสมดุลมากขึ้น

    เมื่อเพศชายเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ในการสร้างฮอร์โมนเพศชายจะเริ่มจากการสั่งการของสมองส่วนไฮโปทาลามัสโดยหลั่งฮอร์โมน Gonadotropin-Releasing Hormone (GnRH) ออกมามากขึ้น การหลั่งจะเป็นแบบจังหวะมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน Gonadotropins

    ได้แก่ Luteinizing Hormone (LH), Follicle Stimulating Hormone (FSH) โดยที่ LH จะไเข้าปกระตุ้น Leydig Cells ในลูกอัณฑะให้สร้างฮอร์โมน Androgen ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Testosterone ส่วน FSH นั้นจะออกฤทธิ์ที่ Seminiferous Tubules (ST) กระตุ้นให้เกิดการสร้างอสุจิ

    Testosterone คือฮอร์โมนเพศที่สำคัญที่สุดของผู้ชาย ซึ่งมีหน้าที่กำหนดลักษณะความเป็นชายทำให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงเรื่องความต้องการทางเพศ, การสร้างอสุจิ, ปริมาณขนตามร่างกาย, กล้ามเนื้อ, กระดูก ในช่วงแรกของพัฒนาการของทารกจะยังไม่มีการแบ่งแยกลักษณะของเพศชาย-หญิง จนกระทั่งได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำให้มีการพัฒนาทางเพศ กระตุ้นให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงสรีระไปตามเพศที่กำหนดไว้โดยโครโมโซมสำหรับเพศชายจะกระตุ้นให้อัณฑะเคลื่อนที่ออกมานอกช่องท้องและอวัยวะเพศขยายขนาดขึ้น

    เทสโทสเตอโรนจะสร้างมากที่สุดเมื่ออายุยี่สิบต้นๆ จากนั้นจะลดลงอย่างช้าๆ เมื่ออายุมากขึ้นทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อลีบเล็ก, ลงพุง, ผมบางลง, ความรู้สึกและความต้องการทางเพศลดลง จนเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่นานพอ ที่จะทำกิจกรรมทางเพศได้ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต หน้าที่ การงานและสภาพจิตใจ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ซึมเศร้า ห่อเหี่ยว ไม่กระฉับกระเฉง นอนไม่หลับ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้

    สาเหตุที่ทำให้ Testosterone ต่ำ

    • การบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ เช่น แผลบาดเจ็บ การทำหมัน การฉายรังสีหรือการทำเคมีบำบัด
    • การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ
    • ความผิดปกติทางด้านฮอร์โมน เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ฮอร์โมน Prolactin อยู่ในระดับสูง
    • โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น โรคเอดส์, โรคตับ-ไตเรื้อรัง, ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป, โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน

    การรักษาโรค ด้วยยาบางชนิดและโรคที่เกิดจากพันธุกรรม อย่างเช่น Klinefelter Syndrome, Prader-Willi Syndrome ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำได้โดยชายสูงอายุส่วนใหญ่จะมีระดับเทสโทสเตอโรนในระดับต่ำและหลายคนในจำนวนนั้นไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร

    การรักษาเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ ด้วยเครื่อง Shock Wave Treatment for Erectile Dysfunction