ผีอำสัญญาณอันตรายก่อนกลายเป็นผีเอง

 

สัญญาณเตือนผีอำ บ่งบอกว่ามีปัญหาการนอน
ไม่ควรมองข้ามผีอำ อาจไม่ใช่ผีหลอก แต่มีปัญหาการนอนหลับ

 

ผีอำ หรือ sleep paralysis อาจเป็นสาเหตุหลักในการบอกว่า เรามีปัญหาเกี่ยวกับการนอนกรน หรือมีภาวะเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ หรือในช่วงนั้นเราอาจจะนอนไม่พอ

ผีอำเรารู้จักผ่านความเชื่อของไสยาศาสตร์ที่ว่า ผีอำ คือการที่ผีมานอนทับร่างกายตอนนอนหลับทำให้ไม่สามารถขยับร่างกายได้ แต่ความเป็นจริงตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ผีอำ เป็นอาการที่บ่งบอกถึงว่า คนๆนั้นมีภาวะความผิดปกติจากการนอนหลับ ที่เรียกว่า Sleep  Paralysis  คือ ภาวะที่ร่างกายของเรา เข้าสู่ห้วงการนอนหลับทั้ง ๆ ที่เรายังคงตื่นอยู่ ทำให้รู้สึกขยับตัวไม่ได้เหมือนคนเป็นอัมพาตนั่นเอง

สารบัญ

เช็คอาการผีอำว่าเกิดในช่วงไหนบ้างในตอนนอนหลับ
ผีอำระดับไหนถึงอันตรายต่อชีวิต สาเหตุอาจมาจากสุขภาพการนอนที่ไม่ดี

อาการผีอำเป็นอย่างไร ?

  อาการผีอำ ส่งผลเสียหลังจากการการตื่นนอนหลายอย่าง อาทิเช่น เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นเร็วเหนื่อยง่ายหายใจไม่อิ่ม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆที่พบเห็นได้โดยทั่วไป ได้แก่

  • อาการผีอำที่เกิดขึ้นช่วงใกล้หลับ (Predormital Sleep Paralysis)
    – ขยับตัวไม่ได้
    – พูดไม่ได้
    – ช่วงที่ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลาย
  • อาการผีอำเกิดขึ้นช่วงใกล้ตื่น (Postdormital Sleep Paralysis)
    – ส่วนใหญ่หลายๆคนมักจะเกิดอาการผีอำในช่วงเวลานี้
    – เกิดอาการสะดุ้งตื่น
    – รู้สึกตัวในขณะช่วงที่หลับฝันยังไม่สิ้นสุดลง
    – มีอาการแน่นหน้าอก อึดอัด
    – ไม่สามารถพูดได้ และไม่สามารถขยับร่างกายได้ ประมาณ 5-10 นาที

ปรึกษาปัญหานอนกรน

ผีอำ อาจจะไม่ได้เกิดจากผีแต่เกิดจากการนอนหลับที่ไม่ดี
มีปัญหาการนอนคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดผีอำ

 

สาเหตุของการเกิดอาการผีอำ

  • การที่นอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากการประกอบอาชีพ มีอาการเหนื่อยงานอ่อนเพลียง่วงนอน เช่น
    – อยู่กะดึกสลับกับอยู่กะเช้า
    – ต้องนอนเช้าบ้าง นอนกลางคืนบ้าง
    – ต้องนอนแบบเปลี่ยนไทม์โซนบ่อยๆ
  • การนอนหลับที่ไม่ดี
    – นอนหลับไม่พอ หรือนอนไม่หลับ เป็นระยะเวลานาน
    – มีปัญหาการนอน เช่น นอนกรน นอนกัดฟัน เป็นต้น
    – ไม่มีระยะเวลาหลับลึก จะหลับๆ ตื่นๆ อยู่เสมอ
    – สะดุ้งตื่นตอนกลางคืนเป็นประจำ
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิด ที่ส่งผลกระทบกับการนอนโดยตรง

ปรึกษาฟรี 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : สังเกตอาการนอนได้ง่ายๆ

ผีอำกับอันตรายแอบแฝงในเรื่องของสุขภาพการนอนหลับ
การเกิดผีอำกับวัฎจักรการนอนเกี่ยวข้องกันในช่วงไหนบ้าง

 

วัฏจักรการนอนกับการเกิดผีอำ

วัฎจักรการนอน แบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผีอำ ได้ดังนี้
  วัฎจักรการนอนระดับ REM (ลักษณะหลับไม่สนิท) เป็นภาวะที่สมองกึ่งหลับ กึ่งตื่น ซึ่งสมองยังคงทำงานอยู่ และตอบสนองต่อสิ่งเร้า ในลักษณะนี้มักจะเกิดภาวะผีอำได้
–  วัฎจักรการนอนระดับ NREM (หลับลึก หรือหลับสนิท) เป็นระดับที่สมองตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้าลง ทำให้ร่างกายผ่อนคลายและพักผ่อนได้เต็มที่
การนอนหลับมักจะอยู่ใน 2 วงจรนี้สลับกันไปมา ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะไม่สามารถแยกความฝันกับความเป็นจริงออกจากกันได้ เลยทำให้เกิดจินตนาการซ้อนกับความเป็นจริง เมื่อเกิดอาการผีอำขึ้น คนเลยมักจะจินตนาการ เป็นภาพลวงตาของภูตผี ทั้งๆที่จริงๆแล้วภาพนั้นอาจไม่ใช่ผีหรือวิญญาณแบบที่เราคิด

ปรึกษาฟรี 

ภาวะผีอำป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพการนอนหลับ
ดูแลสุขภาพการนอนของตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะผีอำ

ป้องกันผีอำแบบไม่ต้องไล่ผี

เราสามารถป้องกันอาการผีอำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองดังนี้

  • นอนให้ตรงเวลา
  • ไม่เล่น Socail Media 2 ชั่วโมงก่อนการนอน
  • ไม่สูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอลล์ก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮออลล์ก่อนการนอน
  • ทำตัวให้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน
  • จัดห้องให้มีอากาศที่ถ่ายเทสะดวก
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนเข้านอน
  • เปลี่ยนท่านอนจากการนอนคว่ำ นอนหงาย เป็น การนอนตะแคง
  • ตรวจสุขภาพการนอนหลับ เพื่อเช็คปัญหาการนอนได้อย่างตรงจุด

  ปรึกษาฟรี 

อ่านเพิ่มเติม : รักษาอาการนอนกรนไม่ผ่าตัดอัปเดต 2024

สรุป

  ผีอำ อาจเป็นสัญญาณของร่างกายเบื้องต้นที่พยายามบอกเราว่า เรามีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ อาทิเช่น มีปัญหาในเรื่องของการนอนไม่เต็มอิ่ม พักผ่อนไม่เพียงพอ มีปัญหาการนอนกรน มีปัญหาการนอนกัดฟัน หรืออาจลุกลามไปถึง ปัญหาการเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะฉะนั้นอย่าละเลยปัญหาของสุขภาพการนอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อน ถ้าเราปล่อยปะละเลยอาจส่งผลให้เสียถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม : เช็คลิสต์เราเสี่ยงไหลตายอยู่หรือเปล่า