7 เคล็ดลับ ลดน้ำหนักหลังคลอด ไม่พึ่งฟิตเนส

พุงไม่ยุบ หุ่นไม่กระชับ น้ำหนักไม่ลดลงหลังคลอดนั้น เป็นปัญหาที่แม่หลังคลอดหลาย ๆ คนกำลังเผชิญและเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจเป็นอย่างมาก ซึ่งโดยปกติแล้วการลดน้ำหนักหลังคลอดให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้นต้องอาศัยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่เรื่องที่คุณแม่หลังคลอดกลับพบเจอคือการเลี้ยงลูกน้อยจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง พอรู้ตัวอีกทีน้ำหนักก็ขึ้นจนลดลงยากแล้ว ไม่ต้องกังวลไปค่ะทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ ถึงแม้จะไม่มีเวลาเราก็สามารถลดน้ำหนักหลังคลอดโดยไม่ต้องพึ่งฟิตเนสได้ค่ะ

 

ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการลดน้ำหนักหลังคลอดกันนั้น คุณแม่เคยสังเกตตัวเองหรือไม่ว่า ความจริงแล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเริ่มมาจากช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ น้ำหนักคงค้างหลังคลอดกันแน่ หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมภายหลังการคลอดไปแล้ว

 

น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์ (Prepregnancy weight)

เป็นน้ำหนักตัวที่แท้จริงของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยสามารถประเมินภาวะอ้วนได้จากการคำนวน BMI (Body Mass Index) หรือการวัดดัชนีมวลร่างกาย ซึ่งเป็นเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จากสูตรคำนวณ BMI = kg/m

สูตรคำนวณหาดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร)2

ยกตัวอย่าง นางสาว A มีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม และสูง 158 ซม.

ดัชนีมวลกาย (BMI) = 55 ÷ (1.58)2

                        = 22.03

ผอมเกินไป = น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักน้อยกว่าปกติ สามารถเสี่ยงเป็นโรคได้เช่นกัน เนื่องจากการรับสารอาหารอาจไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ควรกินอาหารที่มีประโยชน์อย่างในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน และออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

น้ำหนักปกติ = 18.5-22.9  น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทย จะมีค่า BMI ระหว่าง 18.5-24 ซึ่งสามารถห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ น้อยที่สุด 

ท้วม = 23.0-24.90  อ้วนในระดับหนึ่ง 1 เป็นกลุ่มผู้ที่มีความอ้วนอยู่บ้าง แต่หากประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ 

อ้วน = 30.0 ขึ้นไป อ้วนระดับ 2 ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ 

อ้วนมาก = 30.0 ขึ้นไป อ้วนระดับ 3 ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคที่แฝงมากับความอ้วน ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และควรเริ่มออกกำลังกาย

 

น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ (Gestational weight gain)

ปริมาณน้ำหนักตัวทั้งหมดของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ หลังจากที่คุณแม่ทราบ BMI ของตัวเองก่อนการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่สามารถนำเปรียบเทียบกับตารางตามเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์ ของประเทศสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine หรือ IOM) ว่าน้ำหนักที่เหมาะสมระหว่างการตั้งครรภ์ควรเป็นเท่าไหร่ 

รูปร่างของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้น (กิโลกรัม)
น้ำหนักตัวน้อยเกินไป 12.5-18
น้ำหนักตัวเหมาะสม 11.5-16
น้ำหนักตัวมากเกินไป 7.0-11.5
อ้วน 5.0-9.0
คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด 16-20

 

น้ำหนักคงค้างหลังคลอด (Postpartum weight retention)

ปริมาณน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ และยังคงเหลืออยู่หลังการคลอดแล้ว ซึ่งปกติแล้วภายหลังการคลอด 6 สัปดาห์ น้ำหนักตัวของแม่หลังคลอดส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ลดลง จนใกล้เคียงน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ ยกเว้น แม่หลังคลอดที่มีน้ำหนักเกิณเกณฑ์มาตราฐานหรืออ้วนมาก่อนการตั้งครรภ์ ภายหลัง 6 สัปดาห์ไปแล้ว น้ำหนักตัวจะยังมากกว่าคนที่ไม่อ้วน

โดยคุณแม่หลังคลอดที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตราฐาน จะมีน้ำหนักตัวหลังคลอดเมื่อผ่านไปแล้ว 3 ปี ประมาณ 3.06 กิโลกรัม และเพิ่มขึ้น 4.72 กิโลกรัม หลังคลอด 15 ปีขึ้นไป 

สำหรับแม่หลังคลอดที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์เกิน 20 กิโลกรัม จะมีความเสี่ยงที่น้ำหนักตัวจะคงอยู่หลังคลอดถึง 6 เท่า ของของแม่หลังคลอดที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-15 กิโลกรัม

ส่วนแม่หลังคลอดที่เคยคลอดบุตรหนึ่งครั้ง จะมีน้ำหนักตัวเมื่อหลังคลอดมากกว่ามารดาที่ไม่เคยตั้งครรภ์ และยิ่งมีการตั้งครรภ์หลาย ๆ ครั้ง มารดาก็จะยิ่งมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

 

สาเหตุของความอ้วน

  1. การกินอาหารระหว่างการตั้งครรภ์ 

ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น คุณแม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงลูกน้อยในท้องให้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าอาหารเหล่านั้นจะเป็นอาหารที่มีประโยชน์เพียงใด แต่ถ้ากินในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นก็อาจจะทำให้คุณแม่อ้วนได้ หากคุณแม่ไม่จำกัดปริมาณการกินให้เหมาะสม การลดน้ำหนักหลังคลอดอาจเป็นไปได้ยากขึ้น 

 

  1. ฮอร์โมน

ฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์ทำให้คุณแม่มีไขมันเพิ่มขึ้น ในบริเวณหน้าอก แก้ม หน้าท้อง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการบวมน้ำ เนื่องจากมีของเหลวสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายมากเกินไป จนทำให้ส่วนต่างๆ ในร่างกายบวมขึ้น 

 

  1. กล้ามเนื้อแยกออกจากกัน 

เนื่องจากตอนที่คุณแม่ตั้งครรภ์กล้ามเนื้อหน้าท้องทั้ง 2 ซีก (rectus abdominis muscle) ที่เชื่อมกันด้วยเยื้อหุ้มคอลลาเจน (linea alba) จะมีการยืดขยายออกเพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูก ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านซ้ายและด้านขวากว้างขึ้น หรือเราเรียกว่า กล้ามเนื้อหน้าท้องแยก (Diastasis Recti) เมื่อคลอดแล้วกล้ามเนื้อหน้าท้องที่แยกออกจะยังไม่ยุบลงทันทีต้องอาศัยการออกกำลังกายที่ถูกต้องหลังคลอดด้วย ทำให้เมื่อกินอาหารแม้จะน้อยนิดก็ทำให้พุงยื่นได้

กล้ามเนื้อหน้าท้องแยก สามารถพบได้บ่อย ถึง 2 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยงานวิจัยชี้ว่า 33-60% ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากล้ามเนื้อหน้าท้องแยก อย่างน้อย 45% ไม่ทราบว่าตัวเองมีปัญหานี้ และมีโอกาสเกิดขึ้นได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นการมีลูกมากกว่าหนึ่งคน การมีครรภ์แฝด การที่ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวมาก หรือตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปีขึ้นไปแล้ว 

 

ลดน้ำหนักหลังคลอด..ยังไงโดยไม่พึ่งฟิตเนส

  1. ดื่มน้ำมาก ๆ 

ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ที่ต้องการลดน้ำหนักหลังคลอดหรือคนทั่วไปก็จำเป็นต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้ว เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ช่วยทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และน้ำยังไม่มีแคลอรี่ หรือ แคลอรี่เท่ากับ 0 แม้จะดื่มเป็นจำนวนมากก็จะไม่ทำให้อ้วน 

นอกจากนี้ น้ำยังมีส่วนช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากเมื่อเราดื่มน้ำเข้าไป ร่างกายจะปรับอุณหภูมิ

ลดลง จากนั้นร่างกายจะดึงไขมันและพลังงานที่สะสมอยู่ตามร่างกาย เมื่อไขมันถูกเผาผลาญเป็นพลังงานมากขึ้น จึงช่วยทำให้ลดน้ำหนักหลังคลอดลดลงได้ และน้ำยังช่วยทำให้การขับถ่ายป้องกันอาการท้องผูก เมื่อขับถ่ายสะดวกจะทำให้หน้าท้องที่ดูแบนราบ ลดพุงได้อีกด้วย

 

  1. กินอาหารที่มีประโยชน์

คุณแม่หลังคลอดควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เช่น อาหารทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน รวมถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม ฯลฯ เพื่อไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น คุณแม่ที่ต้องการลดน้ำหนักหลังคลอดสามารถทำได้เพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมตามข้อความด้านล่างนี้เลยค่ะ

เน้นรับประทานผักและผลไม้ เนื่องจากมีกากใยอาหารสูง สามารถช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และผักผลไม้ส่วนใหญ่ยังมีแคลอรี่ต่ำ จึงไม่ทำให้อ้วนนั่นเอง เช่น แอปเปิ้ล สับปะรด ส้ม

ข้อควรระวัง : ผลไม้ไม่ได้มีแคลอรี่ต่ำทุกชนิด โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสหวานจะให้พลังงานและน้ำตาลสูง ยิ่งถ้าเรากินผลไม้ที่มีรสหวานมาก ๆ แล้วเผาผลาญไปเป็นพลังงานได้ไม่หมด น้ำตาลนั้นก็จะเปลี่ยยนเป็นไขมันและไปสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  

จำกัดอาหารจำพวกแป้ง คุณแม่ควรรับประทานอาหารจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตแต่น้อย พยายามลดแป้งทุกอย่าง เช่น ก๋วยเตี๋ยว อาหารเส้น ผัดไทย ผัดซีอิ๊ว ข้าว (พยายามกินข้าวครั้งละครึ่งจานและเน้นเป็นกับข้าว) ฯลฯ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น สำหรับอาหารประเภทไขมันควรลดปริมาณให้น้อยลง แต่ไม่ควรงดเสียทั้งหมด เพราะร่างกายยังจำเป็นต้องใช้ไขมันในการละลายวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค

หลีกเลี่ยงของว่างที่ไม่มีประโยชน์ คุณแม่หลังคลอดไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างเป็นเวลานาน ๆ เกิน 3-4 ชั่วโมง โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่ต้องให้นมลูก เพราะจะทำให้คุณแม่รู้สึกหิวมาก จนทานอาหารในปริมาณมากเกินไป ส่วนของว่างจำพวกขนมหวาน น้ำหวาน ช็อกโกแลต คุกกี้ ฯลฯ ควรงดไปก่อน แล้วหันมารับประทานพวกธัญพืชอบแห้ง ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง โยเกิร์ต และผลไม้สด ๆ แทนจะดีกว่า (ควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ)

กินโยเกิร์ต ทุกวันช่วยลดหน้าท้องหลังคลอด นักวิจัยของฟินแลนด์ได้พบว่า แบคทีเรียที่พบในอาหารจำพวกโปรไบโอติกส์ เช่น โยเกิร์ต และอาหารเสริมบางชนิด สามารถสลายน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตได้ ทำให้ร่างกายไม่สะสมพวกแป้งและน้ำตาลไว้ในรูปของไขมัน ผลการวิจัยชี้ว่า “การกินโยเกิร์ตวันละถ้วยสามารถช่วยลดไขมันส่วนเกินเหล่านี้ได้” ซึ่งจากการติดตามภาวะสุขภาพและน้ำหนักตัวของผู้หญิงจำนวน 256 คน ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน ไปจนถึงหลังคลอดเป็นเวลาหนึ่งปี พบว่ากลุ่มที่กินอาหารที่มีโปรไบโอติกส์จะมีรูปร่างผอมบางกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะไม่ลงพุง

 

  1. ให้นมบุตรเอง 

การให้นมบุตรเองนอกจากลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์แล้ว คุณแม่เองก็ได้รับประโยชน์จากการให้นมบุตรเช่นกัน เพราะการให้นมบุตรสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ถึง 500-800 แคลอรี่/วัน เลยทีเดียว 

 

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบการเผาผลาญ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อยเองแล้วต้องการลดน้ำหนักหลังคลอด ก็ควรหาเวลาพักผ่อนให้กับตัวเองเพื่อหุ่นที่เฟิร์มด้วยนะคะ       

 

  1. อย่าเครียด

ความเครียดหรือการวิตกกังวลจะทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline)  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งในสภาวะฉุกเฉินของร่างกาย เช่น โกรธ ตกใจ หรือตื่นเต้นอย่างรุนแรง เพิ่มสูง

ทำให้ร่างกายต้องการพลังงานและกระตุ้นให้อยากกินอาหารมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอาหารประเภทน้ำตาล อาหารไขมันสูง หรืออาหารรสเค็มจัด 

นอกจากนี้เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะยับยั้งการหลั่งเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทการควบคุมความหิวในร่างกาย เมื่อสารชนิดนี้มีปริมาณน้อยทำให้อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดอาการหิวบ่อยตามมา 

 

  1. ออกกำลังกายเบา ๆ

คุณแม่ที่กำลังลดน้ำหนักหลังคลอดคงไม่ได้มีเวลาออกกำลังกายที่ฟิตเนสเหมือนก่อนการตั้งครรภ์มากนัก แต่การออกกำลังกายจะสามารถทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกลับมาเข้าที่มากขึ้น โดยคุณแม่หลังคลอดไม่ต้องกังวลเรื่องแผลผ่าตัดฉีกขาดนะคะ เพราะในช่วงแรกของการคลอดแบบธรรมชาติคุณแม่สามารถออกกำลังกายแบบเบา ๆ ก่อนที่บ้านได้แบบไม่ต้องง้อฟิตเนสเลยค่ะ

ออกกำลังกายแบบ Cardio อย่างสม่ำเสมอ 

การอออกกำลังกายจะช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันได้ดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณแม่หลังคลอดควรจะออกกำลังกายหลังการผ่าตัดอย่างน้อย 6 สัปดาห์ หรือควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย และในช่วงระยะแรกให้คุณแม่หลังคลอดออกกำลังกายแบบไม่หนักจนเกินไป เช่นการเดิน จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่ง เป็นต้น

ออกกำลังกาย strength-training 

เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อนี้เองจะเร่งให้ร่างกายการเผาผลาญไขมันมากยิ่งขึ้น ทำให้รูปร่างกลับมากระชับ เฟิร์ม เช่น การทำ sit-up, สควอท, Plank, Pilates และ โยคะ 

 

  1. Emsculpt

Emsculpt เทคโนโลยีครั้งแรกในโลก สามารถสร้างกล้ามเนื้อและกำจัดไขมันไปพร้อมกัน และยังเป็นเทคโนโลยีที่แก้ปัญหากล้ามเนื้อหน้าท้องแยกของคุณแม่หลังคลอดได้โดยไม่ต้องพึ่งมีดหมอ ไม่ต้องเจ็บตัว เพียงนอนสบาย ๆ ในระหว่างการทำทรีทเมนท์

หลักการทำงาน  

Emsculpt ทำงานโดยการใช้เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเฉพาะเจาะจง High-In Tensity Focused Electro-Magnetic (HIFEM) ส่งพลังงานเข้าถึงชั้นกล้ามเนื้อ และไขมันใต้ชั้นผิวหนัง เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเกิดการหดเกร็งถึง 20,000 ครั้งต่อการทำทรีทเมนท์ 30 นาที เทียบเท่ากับการยกเวทหนัก ๆ แล้วทำ Sit up ไปด้วยพร้อม ๆ กัน 20,000 ครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงเราแทบจะไม่สามารถออกกำลังกายแบบนี้ได้เลย 

ทั้งนี้การหดตัวของกล้ามเนื้อจะสามารถสร้างมวลกล้ามเนื้อใหม่ ทำให้มีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้น สามารถสร้างเส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มจำนวนกล้ามเนื้อให้ทนทานแข็งแรงและอยู่ได้นานขึ้น ส่งผลให้รูปร่างกระชับ มีกล้ามเนื้อหน้าท้องและซิกแพค พร้อม ๆ กับการเผาผลาญไขมันและการทำลายเซลล์ไขมัน

ต้องทำบ่อยแค่ไหน ต้องพักฟื้นหรือไม่   

Emsculpt ควรทำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เหมือนกับการออกกำลังกายปกติ และสามารถทำทรีทเมนท์เพียง 4-6 ครั้งเท่านั้น ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและรวดเร็ว ที่สำคัญไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น

ความรู้สึกระหว่างทำและหลังทำทรีทเมนท์

สิ่งที่ดีมาก ๆ ในการทำ Emsculpt คือในระหว่างทำจะไม่ความรู้สึกเจ็บปวดใด ๆ ไม่มีรอยช้ำ หรือเสี่ยงต่อผิวไหม้ หลังทำในวันรุ่งขึ้นอาจจะรู้สึกเหมือนออกกำลังกายอย่างหนัก (intensive workout) เช่น Sit up หรือทำควอชอย่างหนัก ซึ่งนั่นหมายถึงร่างกายจะมีการเผาผลาญ ทำให้ขมันถูกสลายไปใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 

หลังการทำทรีทเมนท์ Emsculpt ยังทำให้การกลับไปยิมอีกครั้งง่ายขึ้น ร่างกายแข็งแกร่งมากขึ้น สามารถทำสควอทซ์ ทำแพลงค์ ได้หลายนาที ซึ่งการทำ weight training หลังจากทำทรีทเมนท์เพื่อรักษากล้ามเนื้อสวย ๆ ให้อยู่ยาวนานขึ้น ง่ายกว่าการที่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์

แตกต่างจากเทคโนโลยีกำจัดไขมันอื่น ๆ อย่างไร

  1. ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มขนาดและทำให้กล้ามเนื้อท้อง แขน และน่อง แข็งแรงขึ้น ยกกระชับ ก้นสวยกลมเด้ง ควบคู่การเผาผลาญไขมันไปพร้อม ๆ กัน โดยไม่ต้องเหนื่อยกับการออกกำลังกาย ไม่ต้องผ่าตัด ที่ไม่เคยมีเครื่องมือใด ๆ ทำได้มาก่อน
  2. เป็นทรีทเมนท์ที่ไม่มีการบาดเจ็บใด ๆ พักฟื้น ไม่ต้องผ่า ไม่ต้องใช้ยาชา 
  3. ใช้เวลาทำเพียง 20-30 นาที ต่อครั้ง 
  4. สามารถรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทันทีหลังการทำ และผลจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลายสัปดาห์หลังการทำ
  5. ผลการวิจัย แสดงถึงความพึงพอใจต่อการรักษามากถึง 96%
  6. ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่าโดยเฉลี่ยมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น 16% และไขมันลดลง 19%

EMSCULPT ทำบริเวณใดได้บ้าง

ต้นแขน (ไบเซ็ปส์ / ไตรเซ็ปส์), หน้าท้อง, บั้นท้าย, ต้นขา, และ น่อง

 

ผลลัพธ์จากผู้ใช้จริง

คุณดวง จบปัญหาแม่หลังคลอดด้วย Emsculpt

คุณดวง วรรณพร โปษยานนท์ บก. Harper’s BAZAAR Thailand วางใจให้ Apex ดูแลเรื่องการลดน้ำหนักหลังคลอด พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า 

“ดวงพึ่งคลอดลูก น้องลูน่า มาค่ะ หลังจากที่คลอดแล้วสิ่งที่ดวงกังวลคือเรื่องของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และเนื่องจากเรามีงานที่ต้องถ่ายรูปสวย ๆ มากมาย ดวงจึงเริ่มอยากกลับมาดูแลตัวเองให้ Fit & Firm เหมือนเดิมค่ะ”

วันนี้จึงมาทำ Emsculpt เนื่องจากดวงได้ยินมาว่าที่ Apex เขามีนวัตกรรมชื่อว่า Emsculpt ที่ช่วยในเรื่องการยกกระชับกล้ามเนื้อ ทำให้เหมือนพวกเราสามารถมีกล้ามเนื้อที่เฟิร์ม ประหนึ่ง Sip-Up หรือ Squat 20,000 ครั้ง ใช้เวลาเพียง 30 นาที ทำเพียง 4 ครั้ง สามารถสร้างกล้ามเนื้อ 16% และกำจัดไขมัน 19%”

 

APEX SLIM ประสบการณ์กว่า 25 ปี โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเครื่อง Emsculpt ได้รับการรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัย จากองค์กรอาหารและยาของประเทศอมเริกา (US FDA Approved ย่อมาจาก Food and Drug Administration) ซึ่งเรามีเครื่อง Emsculpt มากที่สุดในประเทศไทย และมีประสบการณ์ทำเคสมากที่สุดเช่นกัน

 

👉ปรึกษาลดน้ำหนักและสัดส่วนทักแชท
𝐂𝐎𝐍𝐓𝐀𝐂𝐓 𝐔𝐒
𝐓𝐞𝐥 : 095-102-8585
𝐋𝐢𝐧𝐞 : https://line.me/ti/p/%40APEXslim
𝐅𝐚𝐜𝐞𝐛𝐨𝐨𝐤: https://www.facebook.com/ApexSlim
𝐖𝐞𝐛𝐬𝐢𝐭𝐞 : https://www.apexslim.com/