10 ความเชื่อกับการฉีดฟิลเลอร์

10 ความเชื่อที่คนส่วนใหญ่มีต่อการฉีด ฟิลเลอร์ (Filler)

ฟิลเลอร์ 10 ความเชื่อ

การฉีดฟิลเลอร์กับ 10 ความเชื่อ (ส่วนใหญ่) ที่หลายคนยังไม่เข้าใจ แต่จะถูกหรือผิด, จริงหรือเท็จมากน้อยเพียงใด ลองมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า

1. ฟิลเลอร์คือซิลิโคน

สารที่ใช้นำมาเติมเต็มไม่ว่าจะสารไฮยา, ไขมัน หรือแม้แต่ซิลิโคนเหลว ล้วนเป็นสารประเภทหนึ่งของฟิลเลอร์ซึ่งสารเติมเต็มหรือ ฟิลเลอร์ (Filler) สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่

  • สารเติมเต็มแบบชั่วคราว (Temporary Filler) เช่น สารไฮยาลูโรนิคแอซิด (Hyaluronic Acid) และสารคอลลาเจน (Collagen) คงอยู่ได้ประมาณ 4-6 เดือน มีความปลอดภัยสูงและสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ
  • สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวร (Semi-Permanent Filler) เช่น สาร Polymethyl-methacrylate, สาร Polyakylimide จะมีอายุยาวกว่าการฉีดฟิลเลอร์แบบชั่วคราว อาจอยู่ได้นานถึง 2 ปี ปลอดภัยระดับปานกลางและสารที่ให้ผลยาวนานกว่าจะมีแนวโน้มเกิดผลข้างเคียงมากกว่า
  • สารเติมเต็มแบบถาวร (Permanent Filler) เช่น ซิลิโคนเหลวและน้ำมันพาราฟิน ให้ผลลัพธ์แบบถาวรแต่ไม่สามารถสลายได้เองทำให้ระบุผลข้างเคียงในระยะยาวไม่ได้ ถ้าหากอยู่ในร่างกายนานเกินไปอาจทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงของกล้ามเนื้อ

ซิลิโคนเหลว เป็นสารเติมเต็มแบบถาวร ถูกนำมาใช้ครั้งแรกเกือบร้อยกว่าปีแล้ว เคยได้รับความนิยมในการนำมาฉีดเติมเต็มอยู่ช่วงหนึ่งทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะราคาถูกกว่าและอยู่นานกว่าฟิลเลอร์แบบอื่นๆ จนกระทั่งแพทย์พบว่าเป็นอันตรายมากกว่าประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะซิลิโคนเหลวเป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะยึดติดและเกาะอยู่กับเนื้อเยื่อของร่างกายทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเซลล์ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและทำให้กล้ามเนื้ออักเสบรุนแรงตามมาและเมื่ออยู่ในร่างกายนานจนเกินไป อาจเกิดการเคลื่อนที่ของซิลิโคน ทำให้ไหลไปกองรวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง จนเกิดการห้อยย้อยหรือแข็งตึงเกินไปส่งผลให้บริเวณนั้นๆ ผิดรูปร่างไปจากที่ควร

ดังนั้นแพทย์จะไม่แนะนำในการนำซิลิโคนเหลวมาฉีดเติมเต็มและไม่ควรเหมารวมว่าฟิลเลอร์ คือ ซิลิโคน (เหลว)

2. ฟิลเลอร์เป็นสารตกค้าง ไม่สลาย

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นตามข้อที่ 1 คือ ฟิลเลอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทและ 1 ประเภทในนั้น คือ ฟิลเลอร์แบบถาวร (Permanent Filler) ที่ไม่สามารถสลายไปเองได้ตามธรรมชาติ อย่างซิลิโคนเหลว เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะเกาะแน่นเข้ากับเนื้อเยื่อในร่างกาย มีเพียงวิธีการผ่าตัดแล้วขูดออกเท่านั้น ซึ่งบางทียังไม่สามารถนำสารที่ฉีดเข้าไปออกมาได้ทั้งหมดหรือในบางกรณีอาจต้องตัดเอาเนื้อเยื่อที่ดีออกมาด้วย เพราะสารนั้นๆ มันเข้าไปแทรกยึดติดอยู่กับเนื้อเยื่อที่ดีส่วนนั้นไปแล้ว

ดังนั้นใครที่เคยได้ยินมาว่าฟิลเลอร์ตกค้างและไม่สลาย เป็นเพราะมันคือสารเติมเต็มแบบถาวรอย่างซิลิโคนเหลว ซึ่งปกติแล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้คุณฉีดเข้าไปในร่างกายอย่างแน่นอน

3. ฟิลเลอร์สามารถไหลไปที่อื่นได้

หลังฉีดฟิลเลอร์ไปสักพักแล้วเกิดอาการฟิลเลอร์ไหลนั้น สาเหตุหลักๆ จะมีอยู่ 2 กรณี

  • กรณีที่ 1 คือ การฉีดฟิลเลอร์โดยใช้ฟิลเลอร์ประเภทที่ให้ผลลัพธ์ถาวร เช่น ซิลิโคนเหลวหรือน้ำมันพาราฟินจะเรียกว่าฟิลเลอร์ปลอมอาจไม่ผิดนัก เพราะมักมีราคาถูกและโฆษณาชวนเชื่ออยู่มากมาย แถมมันยังให้ผลเสียกับร่างกายมากกว่าผลดีเสียอีก ซึ่งสารสังเคราะห์ประเภทนี้จะคงอยู่ในร่างกาย โดยไม่สามารถสลายไปเองได้และเมื่อมันอยู่ใต้ผิวหนังนานจนเกินไปจึงมีการเคลื่อนตัวหรือที่ชอบเรียกกันว่าฟิลเลอร์ไหลนั่นเอง
  • กรณีที่ 2 คือ การฉีดฟิลเลอร์โดยเลือกฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับบริเวณที่ต้องการแก้ไขหรือฉีดฟิลเลอร์ด้วยความไม่ชำนาญทำให้สารเติมเต็มไปอยู่ในชั้นผิวที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง ซึ่งในข้อนี้เราต้องอาศัยความชำนาญ เชี่ยวชาญของแพทย์เป็นสำคัญ ซึ่งแพทย์แต่ละคนนั้นจะมีเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์เป็นของตัวเอง โดยแพทย์จะต้องรู้จักการมองภาพรวมใบหน้าและเข้าใจปัญหาของคนไข้ที่เข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีดูเป็นธรรมชาติและไร้ซึ่งปัญหาอย่างการไหลของฟิลเลอร์หลังฉีด

ดังนั้นถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาฟิลเลอร์ไหลหลังฉีด ควรศึกษาผลิตภัณฑ์ในเบื้องต้นให้ดีก่อน จากนั้นจึงเลือกสถาบันความงามที่น่าเชื่อถือมีใบรับรอง รวมไปถึงการมีรางวัลการันตีต่างๆ ด้วย เพราะทำให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่าที่นั่นจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแน่นอน

4. ฟิลเลอร์ละลายเมื่อโดนความร้อน

ฟิลเลอร์สามารถละลายได้ หากได้รับความร้อนที่มีอุณหภูมิสูง ไม่ใช่ความร้อนขนาดที่เราใช้ชีวิตประจำวันถึงแม้เราฉีดฟิลเลอร์มา แล้วไปทำ เทอร์มาจ (Thermage) หรือ อัลเทอร่า (Ulthera) ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพลังงานความร้อนต่อก็ไม่ทำให้ฟิลเลอร์ละลาย แต่อาจจะมีการการเสื่อมสลายไปเร็วกว่าอายุการคงอยู่จริงเพียงเล็กน้อย คุณหมอบอกว่าที่เตือนให้ระวังเรื่องความร้อน ไม่ใช่ประเด็นของความร้อนจะทำให้ฟิลเลอร์สลาย แต่เป็นการบีบรัดของผิวหนังและกล้ามเนื้อในขณะที่โดนความร้อน เพราะถ้าอยู่ในที่ที่มีความร้อนสูง เช่น ซาวน่า การบีบรัดจะเหมือนกับการนวดคลึงอาจจะทำให้ฟิลเลอร์เคลื่อนตัวหรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่คุณหมอได้วางไว้ 

ดังนั้นที่ห้ามอยู่ที่ร้อนๆ ห้ามทำกับข้าว ห้ามเข้าซาวน่าหลังฉีดฟิลเลอร์ ไม่ใช้เพราะจะทำให้ฟิลเลอร์ละลายแต่อาจจะส่งผลถึงผลลัพธ์ของการฉีดได้

5. แพทย์ทุกคนสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้

การฉีดฟิลเลอร์ คือ การนำสารสังเคราะห์ฉีดเติมเต็มเข้าใต้ผิวหนัง โดยจะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับบริเวณนั้นๆ และฉีดในปริมาณที่เหมาะสม หากแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญ ไม่ได้ถูกเทรนมาอย่างดี ต่อให้ใช้ฟิลเลอร์ยี่ห้อดีเลิศแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยอยู่ดี

อย่างที่กล่าวไปในข้อต้นๆ ว่าแพทย์ที่จะฉีดฟิลเลอร์ได้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ต้องรู้มากกว่าการใช้เข็มฉีดจิ้มเข้าไป ต้องรู้จักชั้นผิวแต่ละชั้นเป็นอย่างดีและต้องรู้จักโครงสร้างและรูปลักษณ์ของใบหน้าว่าตรงไหนสามารถฉีดได้หรือห้ามฉีด

ดังนั้นแพทย์ทุกคนที่ฉีดยาเป็น ไม่สามารถฉีดฟิลเลอร์ให้คุณได้ ก่อนตัดสินใจฉีดอะไรเข้าไปในร่างกาย ส่วนสำคัญที่สุดคือต้องศึกษาและปรึกษาแพทย์ให้ชัดเจน เข้าใจกันก่อน เพื่อความปลอดภัยและความพึงพอใจของคุณ

6. ฟิลเลอร์ 1 หลอด สามารถฉีดได้ทุกที่

ฟิลเลอร์ 1 หลอด มีปริมาณ 1 cc. หรือถ้าให้เห็นภาพคือขนาดเท่าน้ำตาลบนปลายช้อนชา ฉะนั้นถ้าคุณมีปัญหาที่ปริมาณเยอะจะไม่สามารถใช้ฟิลเลอร์ 1 หลอด สำหรับฉีดทุกบริเวณที่มีปัญหาได้ รวมไปถึงฟิลเลอร์ยังมีหลายชนิด หลายแบบเพื่อแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน

เมื่อคุณอยากฉีดฟิลเลอร์จะเดินเข้าคลินิกไปแล้วบอกกับคุณหมอว่าฉีดฟิลเลอร์ตัวนั้น ตัวนี้ให้หน่อย บอกเลยว่าไม่ได้แน่นอน เพราะต้องให้คุณหมอประเมินก่อนว่าบริเวณที่คุณอยากแก้ไขนั้นเหมาะสมกับฟิลเลอร์ประเภทใด ฉีดฟิลเลอร์ตัวไหนถึงจะเหมาะสม เพราะเนื้อฟิลเลอร์แต่ละแบบนั้นไม่ได้เหมาะกับการฉีดทุกบริเวณ

ฟิลเลอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ผลิตจากสารไฮยาลูโรนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับที่มีอยู่แล้วในผิวหนัง โดยจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์ 2 แบบ คือ

  • HA Filler เป็นฟิลเลอร์เนื้อแน่น มีลักษณะคงตัว ใช้สำหรับฉีดปรับโครงสร้างใบหน้าและเติมเต็มในส่วนที่ขยับเคลื่อนไหวบ่อยๆ จนเป็นร่องรอยลึก เช่น ร่องแก้ม เป็นต้น
  • HA Skin Booster เป็นฟิลเลอร์เนื้อบางเบากว่าแบบแรก มีลักษณะเป็นเจลนิ่มๆ ใช้ฉีดในบริเวณชั้นผิวที่ตื้นกว่า HA Filler เพื่อช่วยเกลี่ยให้ผิวดูเป็นธรรมชาติ ฉ่ำน้ำ ดูสุขภาพดี กระจ่างใสขึ้นจนดูอ่อนกว่าวัย

ดังนั้นฟิลเลอร์ 1 หลอด ไม่ได้เหมาะกับการฉีดทุกบริเวณ ต้องพิจารณาเป็นเคสๆ ไป

7. ห้ามกินวิตามินก่อนมาฉีดฟิลเลอร์

จริงๆ ไม่ได้ห้ามเสียทีเดียว แต่เป็นการขอความร่วมมือให้งดมากกว่า เพราะว่าวิตามินหรืออาหารเสริมบางชนิด อย่างเช่น วิตามินอี ยาแอสไพริน สารสกัดจากใบแปะก๊วยนั้น จะไปกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตทำให้เลือดแข็งตัวช้า ซึ่งในระหว่างฉีดฟิลเลอร์ คนไข้อาจจะเลือดไหลไม่หยุดได้และเสี่ยงต่ออาการช้ำนั่นเอง

ดังนั้นก่อนมาฉีดฟิลเลอร์ควรงดวิตามินหรืออาหารเสริมใดๆ ตามที่แพทย์แนะนำจะดีกว่า

8. หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามนวดหน้า

หลังจากฉีดฟิลเลอร์แล้วห้ามนวดหน้านั้น เป็นเพราะการนวดจะทำให้ฟิลเลอร์บริเวณที่ฉีด เคลื่อนตัว ไม่อยู่ในตำแหน่งที่คุณหมอฉีดให้ จากจุดที่คุณหมอฉีดเพื่อยกหน้า อาจจะทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่วางไว้

สิ่งที่คุณหมอมักแนะนำให้ดูแลตัวเองหลักๆ เลย นอกจากห้ามนวดแล้วภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากฉีดฟิลเลอร์ไปแล้ว ควรงดการกระทำเหล่านี้ เพื่อให้สารเติมเต็มที่ฉีดเข้าไปได้มีเวลาเซตตัวก่อน

  • งดแต่งหน้า 24 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา
  • พยายามอย่ายิ้มกว้างหรือยิ้มเยอะเกินไป
  • หมั่นทาครีมกันแดด

ดังนั้นหลังจากฉีดฟิลเลอร์แล้ว หากต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาสวย ดูเป็นธรรมชาติ คงอยู่ได้ยาวนานและเห็นผลดีที่สุด คุณเองควรดูแลตัวเองดีๆ ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์

9. ฉีดฟิลเลอร์สามารถทำให้ตาบอดได้

ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดเรื่องจริงที่น่ากลัว ถึงจะเป็นเคสที่มีจำนวนน้อยแต่ก็เกิดขึ้นได้ สาเหตุเกิดจากสารฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปหลุดเข้าไปในกระแสเลือดแล้วบล็อคเส้นเลือด ซึ่งต้องระวังมากในผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์หน้าผาก, ฉีดฟิลเลอร์จมูก เพราะเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดพาดผ่านเป็นจำนวนมาก การฉีดฟิลเลอร์หน้าผากและจมูกจะต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการฉีดฟิลเลอร์เท่านั้น

10. การฉีดฟิลเลอร์ทำให้หน้าใหญ่ ดูห้อย

หลายคนยังคิดว่าการฉีดฟิลเลอร์เหมือนการเป่าลูกโป่งที่พอฟิลเลอร์สลายแล้วหน้าจะเหี่ยวเหมือนลูกโป่งที่โดนปล่อยลม แต่จริงๆ แล้วการฉีดฟิลเลอร์คือการฉีดเข้าไปเติมเต็มส่วนที่หายไป ไม่ว่าจะเป็นมวลกระดูกหรือมวลไขมัน แต่เป็นไปได้ที่ฉีดแล้วหน้าดูใหญ่ ดูย้อยถ้าฉีดโดยแพทย์ที่ไม่เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์เข้าไปแก้ปัญหาไม่ตรงจุดหรือเพราะฉีดฟิลเลอร์ตื้นเกินไป เลยทำให้เนื้อของฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไป จนไปกองอยู่ในชั้นผิวตื้นๆ จนดูนูนออกมาเป็นก้อน ทำให้หน้าดูใหญ่ ห้อยย้อย ผิดรูปได้

ฟิลเลอร์ 10 ความเชื่อ 02

การฉีดฟิลเลอร์เป็นเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก เพราะถึงแม้การยิงเลเซอร์ยกกระชับหน้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาวอลลุ่มบนใบหน้าที่หายไปได้ เพียงแค่คุณเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและเลือกสถาบันที่เชื่อถือได้ คุณก็จะได้สวยดั่งที่คุณปรารถนาโดยมีความเสี่ยงที่น้อยมาก

หากคุณอยากสวยแบบไม่เสี่ยง สามารถสอบถามรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ทาง Line@ : @apexbeauty (มี @ นำหน้า)