มีบุตรไม่ได้ ผู้ชาย…ต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง?

ฮอร์โมนเพศชาย สำคัญแค่ไหน? ศูนย์สมรรถภาพชาย Men’s Health By Apex กับความรู้ด้านสุขภาพจากแพทย์เฉพาะทาง พร้อมแนะนำการดูแลที่เหมาะสม

ฮอร์โมนเพศชายภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือ ภาวะที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากพยายามมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิดมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี เพราะในความเป็นจริงนั้น บางคู่ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตนเองมีปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลให้มีลูกได้ยาก เช่น ฝ่ายหญิงมีสุขภาพไม่แข็งแรง มีอายุมากกว่า 35 ปี มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ มีประวัติเคยผ่าตัด หรือมีการอักเสบในช่องท้องมาก่อน หรือในฝ่ายชายที่รู้ตัวว่ามีภาวะหย่อนสมรรถภาพ เคยมีอุบัติเหตุ หรือมีการติดเชื้อรุนแรงที่อวัยวะเพศมาก่อน ฯลฯ แต่ภาวะดังกล่าว สามารถพบแพทย์ เพื่อขอรับการปรึกษาได้

ทั้งนี้ภาวะมีบุตรยากนั้นไม่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นคนเชื้อชาติใด โดยที่ผ่านมานั้นได้มีการศึกษาที่พบว่า “การมีลูกยากนั้นจะเกิดขึ้นจากฝ่ายหญิงมากกว่าประมาณ 40-50% ในขณะที่ฝ่ายชายจะพบได้น้อยกว่าประมาณ 25-30%” ทั้งนี้ภาวะการมีบุตรยากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ภาวะมีบุตรยากชนิดปฐมภูมิ (Primary infertility) หมายถึง คู่สมรสยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน
  • ภาวะมีบุตรยากชนิดทุติยภูมิ (Secondary infertility) หมายถึง คู่สมรสเคยมีบุตรหรือเคยตั้งครรภ์มาก่อน แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะเกิดเพียงฝ่ายเดียวหรือเกิดจากทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกันก็ได้ ซึ่งมีคู่สมรสจำนวนไม่น้อย ที่สาเหตุการมีบุตรยาก มาจากความผิดปกติของทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกัน

สาเหตุจากฝ่ายหญิง : เกิดจากความผิดปกติในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ทำงานไม่ได้ตามปกติ และไม่สามารถตกไข่ได้ มีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายที่ส่งผลต่อการตกไข่ ท่อรังไข่อุดตัน มีเนื้องอกตรงมดลูกขนาดใหญ่หรืออยู่ในโพรงมดลูก มีซีสต์หรือเนื้องอกของรังไข่ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมีพังผืดที่เกิดขึ้นในช่องเชิงกรานหรือที่ปีกมดลูก เป็นต้น ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่มีผลทำให้มีลูกได้ยาก คือ มีอายุมากเกินไป สูบบุหรี่เป็นประจำ ฯลฯ (จากสถิติพบว่า สาเหตุการมีบุตรยากในฝ่ายหญิงมาจากการอุดตันของท่อนำไข่ มีความผิดปกติของเยื่อบุช่องท้องประมาณ 35% เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 35% การตกไข่ผิดปกติหรือไม่สม่ำเสมอ 25%)

สาเหตุจากฝ่ายชาย : บางครั้งสาเหตุการมีบุตรยาก อาจเกิดขึ้นกับฝ่ายชาย เช่น ฝ่ายชายมีอวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติมาแต่กำหนดจนไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ ฝ่ายชายมีพันธุกรรมที่ผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม หรือยีนที่ทำให้ไม่สามารถสร้างเชื้ออสุจิได้ หรือสร้างได้น้อยกว่าปกติ เช่น เชื้ออสุจิมีปริมาณน้อย เชื้ออสุจิอ่อนแอ เชื้ออสุจิมีรูปร่างผิดปกติ หรือแม้แต่เป็นหมัน (ตรวจไม่พบเชื้ออสุจิในน้ำอสุจิ) ฝ่ายชายได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารประกอบเบนซีน รวมถึงการใช้ยาบางชนิด มีโรคประจำตัวบางอย่าง ที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น เบาหวาน หรือเป็นโรคคางทูมตั้งแต่ในวัยเด็ก เป็นผู้สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อน เป็นต้น

ฮอร์โมนเพศชาย

การตรวจวินิจฉัย

แพทย์ผู้ทำการรักษา จะทำการวินิจฉัยทั้งจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยการซักถามประวัติทางการแพทย์ เพื่อหาสาเหตุเบื้องต้นก่อน จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติม และตรวจภายในของฝ่ายหญิง แล้วส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสาเหตุของการเกิดภาวะมีบุตรยาก โดยสามารถจำแนกการส่งตรวจได้ดังนี้

การประเมินภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย

ภาวะมีบุตรยากของฝ่ายชายนั้นมีหลากหลาย โดยสิ่งที่แพทย์จะตรวจนั้นมีดังนี้

ประวัติและการตรวจร่างกาย อาจช่วยบอกความผิดปกติที่เป็นสาเหตุได้ เช่น ประวัติการติดเชื้อหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื้องอกในอัณฑะ ประวัตการผ่าตัด กิจกรรมทางเพศ การใช้ยา การใช้หรือการสัมผัสสารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ บุหรี่ รังสี สารสเตียรอยด์ การทำเคมีบำบัด และสารเคมีที่เป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัย รวมถึงการดูองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ขนาดของลูกอัณฑะ ความผิดปกติทางร่างกายบางอย่าง เช่น เส้นเลือดขอดที่อัณฑะ การพัฒนาของลักษณะทางเพศ เป็นต้น

ตรวจน้ำอสุจิ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย ซึ่งการตรวจนี้จะทำให้ทราบถึงคุณภาพและปริมาณโดยรวมของน้ำเชื้อ จำนวนอสุจิ รูปร่างและการเคลื่อนไหวของอสุจิ ก่อนการตรวจ ฝ่ายชายควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือสำเร็จความใคร่ ก่อนการเก็บตัวอย่างน้ำเชื้ออสุจิประมาณ 2-3 วัน หากผลการวิเคราะห์พบว่า อสุจิมีความผิดปกติ แพทย์มักจะมีการขอตัวอย่างน้ำอสุจิเพิ่มเติม เพื่อตรวจซ้ำอีกครั้งในอีก 1-2 สัปดาห์ถัดไป

ฮอร์โมนเพศชาย

การตรวจเลือด โดยปกติแล้วแพทย์จะขอตรวจเลือด ถ้าสงสัยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากฮอร์โมน (จะตรวจเมื่อพบความผิดปกติของน้ำเชื้อ) และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การทดสอบทางพันธุกรรม ในรายที่แพทย์สงสัย ก็อาจจะทำการตรวจสอบเลือดอย่างเฉพาะเจาจง เพราะบางกรณีปัญหาการมีบุตรยาก อาจเกิดจากการขาดหายไปหรือความผิดปกติของโครโมโซมเพศชาย ผู้ชายบางคนอาจสืบทอดยีนที่เกี่ยวข้องกับโรค Cystic fibrosis ซึ่งทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากจำนวนตัวอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์ ในกรณีนี้แพทย์จะต้องหารือกับคู่สมรสถึงความเป็นไปได้ และผลที่จะตามมาจากพันธุกรรม ที่อาจถ่ายทอดไปถึงลูกได้

การตรวจอื่นๆ ถ้าแพทย์สงสัยว่า มีการอุดตันในส่วนของท่อส่งอสุจิ ก็อาจจะมีการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งการอุดตันนี้อาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อในภายหลังก็ได้ หรือในกรณีที่มีอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่มีเลย แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะ เพื่อวิเคราะห์น้ำอสุจิ (ทำในห้องผ่าตัด โดยใช้ยาดมสลบ) และอาจนำเซลล์อสุจิไปแช่แข็ง เพื่อใช้ในการทำเด็กหลอดแก้วต่อไป

ปัจจัยที่ทำให้การรักษาภาวะมีบุตรยากล้มเหลว

อายุของฝ่ายหญิงซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การสร้างฟองไข่และการเจริญของฟองไข่ผิดปกติไป ปริมาณความเข้มข้นของเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย

การผ่าตัดแก้หมัน เนื่องจากพบว่าจะมีโอกาสตั้งครรภ์ภายหลังการแก้หมันมีประมาณ 70% และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งส่งผลให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลงจากเดิมด้วย เช่น วิธีที่ใช้ในการทำหมันครั้งก่อน ความยาวของท่อนำไข่ที่เหลือหลังจากการทำหมัน การติดเชื้อภายในอุ้งเชิงกรานหลังการผ่าตัด เป็นต้น

ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลว คือ พังผืด ขนาดของถุงน้ำรังไข่ และความผิดปกติของท่อนำไข่ที่พบร่วมกันด้วย

 ฮอร์โมนเพศชาย

ผู้ชายต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง?

สำหรับการเตรียมตัวในการดูแลสุขภาพในฝ่ายชาย หลังจากแพทย์ซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย อาจจะเจาะเลือดส่งตรวจแลป เช่น การตรวจเลือด เพื่อดูระดับฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนควบคุมการทำงานของลูกอัณฑะ เชื้อโรคจากเพศสัมพันธ์ และรวมทั้งการตรวจเลือดดูการทำงานตับ ไต เบาหวาน ไขมันในเลือด ทั่วๆ ไป  จึงอาจต้องมีการอดอาหารก่อนตรวจเลือด

ที่สำคัญ คือ เพื่อให้ทราบข้อมูลชัดเจน จะมีการตรวจน้ำเชื้ออสุจิ Sperm examination เพื่อดูปริมาณเชื้ออสุจิ และคุณภาพเชื้อ ซึ่งแนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์ ก่อนตรวจไม่น้อยกว่า 3-7 วัน

แพทย์วางแผนการรักษา

  1. ถ้าพบว่าผลเลือดมีความผิดปกติ ก็จะมีการรักษา เช่น รักษาโรคตับ โรคไต จนร่างกายแข็งแรง
  2. ถ้าพบเชื้อโรคเพศสัมพันธ์ ก็จะมีการรักษาให้หายเสียก่อน
  3. ถ้าพบว่าฮอร์โมนลดต่ำลง ก็จะมีการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน และวางแผนเก็บเชื้ออสุจิที่แข็งแรงอีกครั้ง ถ้าจำเป็นก็จะเก็บไว้สำหรับทำเด็กหลอดแก้วต่อไป
  4. ถ้าพบว่าเชื้ออสุจิอ่อนแอ จะมีการบำรุงร่างกาย ร่วมกับให้ฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเชื้ออสุจิ และนัดเก็บเชื้อที่แข็งแรงไว้ทำการรักษาต่อไป
  5. ถ้าเชื้ออสุจิน้อยมาก แพทย์จะนัดมาตัดเนื้ออัณฑะเพื่อเก็บตัวเชื้อ สำหรับทำ IVF ต่อไป

ส่วนคำแนะนำอื่นๆ เช่น งดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดเข้าซาวน่าเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

Linear Shockwave Therapy เทคโนโลยีฟื้นฟู อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

Linear Shockwave Therapy เทคโนโลยีเสริมสร้างระบบหลอดเลือด ช่วยป้องกันและรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การทำงานของ Linear Shockwave Therapy (LSWT) นับเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ต่างจากเครื่องมือโดยทั่วไป ในการดูแลรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย โดยไม่ต้องพึ่งยา ไม่เจ็บ ไม่มีผลข้างเคียง บุคคลทั่วไปสามารถทำได้

ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพ ฟื้นฟูระบบหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น ควรทำ 3-4 วันต่อครั้ง ต่อเนื่องขั้นต่ำ 4 ครั้ง หรือมากกว่า และยังช่วยรักษาภาวะปัญหาการแข็งตัวไม่เต็มที่ อีดีในระดับน้อยถึงปานกลาง ควรทำ 3-4 วันต่อครั้ง และควรต่อเนื่อง 8-10 ครั้งขึ้นไป

ดังนั้นการเตรียมพร้อมคุณผู้ชาย นอกจากการดูแลรักษาจากแพทย์แล้ว เรื่องของการสร้างความแข็งแกร่งของระบบหลอดเลือดและมวลกล้ามเนื้อควรทำควบคู่กันไป เพื่อให้คุณผู้ชายสามารถเตรียมตัวในเรื่องสุขภาพของตัวเอง และช่วยให้เกิดความพร้อมก่อนเข้ารับการตรวจรักษาภาวะมีบุตรยากได้ง่ายขึ้น

ฮอร์โมนเพศชาย

Men’s Health by Apex ให้คำปรึกษาโดยแพทย์เฉพาะทาง
  • ตรวจภาวะพร่องฮอร์โมน
  • รักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพชาย
  • ปรึกษาอาการแข็งตัวไม่เต็มที่
  • เทคโนโลยี Linear Shockwave Therapy
  • P-SHOT FOR MEN (PRP)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
  • โทร. 088-870-0045
  • โทร. 062-709-6747
  • LINE : @apexmen