รากฟันเทียม คือหนึ่งในการรักษาทางทันตกรรมเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันด้วยการใช้รากฟันไทเทเนียมมีรูปร่างคล้ายสกรู ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการักษาแล้วคนไข้จะสามารถกลับมามีฟันที่ใกล้เคียงธรรมชาติ ทั้งนี้การผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียมจะมีกระบวนการรักษาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของรากฟันเทียม และลักษณะกระดูกสันเหงือก ทั้งนี้ยังอาจต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่ากระบวนการรักษาจะเสร็จสิ้น เนื่องจากต้องให้มั่นใจว่ารากฟันเทียมนั้นแข็งแรง และยึดติดกับกระดูกแน่นดีแล้วจึงจะสามารถดำเนินการในขั้นต่อไปได้
ส่วนประกอบของฟันเทียม
รากฟันเทียม โดยส่วนใหญ่แล้วจะผลิตขึ้นจากไทเทเนียมเนื่องจากสามารถเข้ากับร่างการของคนเราได้ดีที่สุด โดยส่วนประกอบของรากฟันเทียมมีดังต่อไปนี้
รากเทียม
คือส่วนของรากเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรู ที่จะถูกผ่าตัดฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อทำหน้าที่แท้รากฟันธรรมชาติ โดยรากเทียมนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่
- Conventional Implant เป็นรากฟันเทียมชนิดทั่วไป โดยในการรักษาแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย พิมพ์ปาก และถ่ายเอ็กซเรย์ หรือถ่าย CT Scan เพื่อว่าผ่านในการรักษา หลังจากนั้นจะมีการผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร จากนั้นจะต้องรอจนกว่ารากเทียมและกระดูกจะยึดติดกันเต็มที่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 เดือน แล้วจึงไปสู่ขั้นต่อการใส่ฟันเทียมต่อไป
- Immediate implant เป็นรากฟันเทียมชนิดที่ทำทันทีหลังจากถอนฟันธรรมชาติออก วิธีนี้มีข้อดีคือ ใช้ระยะเวลาการรักษาน้อย ลดการละลายของกระดูก ลดความเสี่ยงในเกิดเหงือกร่น ทว่าส่วนใหญ่บริเวณที่ใช้รากฟันเทียมชนิดนี้จะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดไว้ได้
- Immediate loaded implant เป็นการใส่ครอบฟัน ไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวรลงไปที่รากฟันเทียมทันทีที่ฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรักษาลงไปได้มาก ทำให้คนไข้ยังคงดูมีฟันที่สวยงามอยู่ตลอดเวลา แต่วิธีการรักษาแบบนี้ค่อนข้างมีข้อจำกัดมาก
เดือยรองรับครอบฟัน คือส่วนที่ทำขึ้นเพื่อทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน ทำหน้าที่เป็นส่วนตัวฟัน และครอบฟันซึ่งผลิตจากไทเทเนียม หรือเซรามิก
ครอบฟัน หรือครอบสะพานฟัน เป็นตัวฟันเทียมที่ถอดได้ โดยจะยึดอยู่กับเดือยรองรับครอบฟันด้วยการใช้กาวทางทันตกรรมยึดหรือสกรู ผลิตจากเซรามิก มีลักษณะคล้ายฟันธรรมชาติ ทั้งนี้แพทย์ในการเลือกใช้ชนิดของครอบฟัน จะขึ้นอยู่กับปริมาณฟันที่สูญเสียไป หากสูญเสียฟันไปเพียงซี่เดียวก็มักใช้ครอบฟัน หรือหากมากกว่า 2 ซี่ขึ้นไป ก็อาจใช้ครอบฟันแบบสะพานฟันได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้พิจารณา
ข้อดีของรากฟันเทียม
- วัสดุที่ใช้มีความคงทน และถาวร
- ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงล้ม หรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ช่วยให้สุขภาพช่องปากดีขึ้น
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- มีความเป็นธรรมชาติและสามารถใช้ได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด
- ไม่มีปัญหากับการพูด และการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่น ๆ
- ป้องกันการสูญเสียฟัน และกระดูกบริเวณข้างเคียง
- ช่วยรักษาโครงสร้างกระดูกขากรรไกร ไม่ให้เกิดการยุบตัวในอนาคต
ใครเหมาะกับรากฟันเทียม
- ไม่สามารถใช้ฟันเทียมชนิดถอดได้
- มีการสูญเสียฟันอย่างถาวรอย่างน้อย 1 ซี่ขึ้นไป
- ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องการพูดเนื่องจากการสูญเสียฟัน
- กระดูกขากรรไกรหยุดการเจริญแล้ว
- มีปริมาณกระดูกเพียงพอต่อการฝังรากเทียม
- มีสุขภาพเนื้อเยื่อ และเหงือกที่ดี
- ไม่มีความผิดปกติที่ส่งผลต่อการหายของแผลที่เนื้อกระดูก
- ไม่สูบบุหรี่
- สามารถเข้ารับการรักษาต่อเนื่องในระยะยาวได้
การวินิจฉัยเพื่อทำรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม แพทย์จะพิจารณาจากความจำเป็นที่จะใส่รากฟันเทียม ความแข็งแรงกระดูก และปริมาณเนื้อกระดูกขากรรไกรบริเวณที่จะใส่รากฟันเทียม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องใส่รากฟันเทียมก็คือ ความมีต้องการมีรอยยิ้มที่สวยงาม การบดเคี้ยวอาหารที่ดี หรือปรับปรุงการพูดเนื่องจากการสูญเสียฟัน นอกจากนี้บางรายยังใส่รากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่เหลืออยู่ซึ่งอาจไม่แข็งแรงพอจะเป็นฟันหลักเพื่อยึดกับฟันเทียมชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ เช่นฟันเทียมชนิดถอดออกได้ หรือฟันเทียมแบบติดถาวร ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกฟันเทียมแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของคนไข้ และการใช้สอยด้วยเช่นกัน
การเตรียมตัวก่อนการรักษา
ในการฝังรากเทียม จะต้องมีการวางแผนที่ชัดเจน ซึ่งอาจต้องใช้การประเมินจากทันตแพทย์เฉพาะทางหลายสาขาร่วมกัน อาทิ ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาผ่าตัดช่องปากและขากรรไกร และทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เนื่องจากการรักษาด้วยรากฟันเทียม เป็นกระบวนการรักษาที่ใช้เวลานาน และต้องทำการผ่าตัดอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือมากกว่านั้นในบางกรณี โดยในการวางแผนการรักษามีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- การตรวจภายในช่องปาก ในบางกรณีอาจมีการเอ็กซเรย์ฟัน หรือทำ CT Scan ร่วมด้วยเพื่อจำลองแบบฟันและกระดูกสันเหงือก
- ซักประวัติทางการแพทย์ คนไข้จำเป็นจะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาโรค โรคประจำตัว หรือยาที่ได้รับ ให้แก่ทันตแพทย์ได้ทราบ โดยเฉพาะกรณีที่คนไข้มีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม เนื่องจากอาจจำเป็นต้องให้ยาปฎิชีวนะก่อนการรักษา
- การวางแผนการรักษา เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทันตแพทย์จะมีการปรึกษาร่วมกับคนไข้ในเรื่องของความหวังผลในการรักษา เพื่อทันตแพทย์จะสามารกประเมินจำนวนของรากฟันเทียม และชนิดของรากเทียมที่ใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
ในการฝังรากเทียม มีขั้นตอนในการรักษาที่หลากหลาย และต้องใช้เวลาในการรักษาที่ค่อนข้างนาน เนื่องจากต้องมีช่วงเวลาที่รอให้รากเทียมและกระดูกยึดติดกันก่อนจึงจะสามารถใส่ฟันเทียมได้ โดยในขั้นตอนแรก ทันตแพทย์จะทำการถอนฟันที่ซี่ที่มีปัญหา และไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ จากนั้นจะทำการเตรียมกระดูกสันเหงือกเพื่อฝังรากเทียม หรือในบางกรณีอาจมีการเสริมกระดูกให้เหมาะสำหรับการใส่รากเทียม แล้วจึงทำการผ่าตัดฝังรากเทียม โดยในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อระงับความเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นยาชาเฉพาะที่ ในบางกรณีอาจต้องใช้ยาคลายกังวล หรือยาสลบร่วมด้วย ซึ่งหากต้องใช้ยาสลบ คนไข้จะต้องมีการงดน้ำและอาหารมาก่อนยังน้อย 8 -12 ชั่วโมง ทั้งนี้ในระหว่างการผ่าตัดฝังรากเทียม ทันตแพทย์ทำการกรีดเปิดเหงือกเพื่อเข้าถึงกระดูก และทำการเจาะรูสำหรับรากเทียมในตำแหน่งที่ได้วางแผนไว้ เพื่อทำการฝังรากเทียมไทเทเนียมเพื่อทดแทนรากฟันที่สูญเสียไป
หลังจากการผ่าตัดแล้ว คนไข้จะต้องรอเวลาเพื่อให้กระดูกและรากฟันเทียมยึดติดกันให้แข็งแรงก่อนจึงจะสามารถไปสู่ขั้นตอนต่อไปได้ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เมื่อรากเทียมและกระดูกยึดติดกันจนแข็งแรงแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการใส่เดือยรองรับครอบฟัน จากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนในการใส่ครอบฟัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าคนไข้ควรใส่ครอบฟันชนิดไหนจึงจะเหมาะสมมากที่สุด หลังจากการใส่ครอบฟันแล้ว คนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีรอยยิ้มที่สวยงาม และดูเป็นธรรมชาติอีกครั้ง
การดูแลรักษาหลังการใส่รากฟันเทียม
หลังจากกระบวนการทำรากฟันเทียมเสร็จสิ้นแล้ว รากฟันเทียมที่ใส่จะมีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน เนื่องจากรากเทียมผลิตจากไทเทเนียม แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากด้วย หากดูแลรักษาไม่ดี สิ่งที่ตามมาก็คืออาจเกิดอาการเหงือกอักเสบได้ ดังนั้นเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี คือควรแปรงฟันให้สะอาด ใช้ไหมขัดฟัน และควรหมั่น ติดตามและพบทันตแพทย์สม่ำเสมอเพื่อตรวจฟัน และสภาพของรากฟันเทียม
นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง อาทิ การเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งเช่น น้ำแข็งหรือกระดูกอ่อน เพราะอาจทำให้ครอบฟันแตกหัก อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือน้ำชา กาแฟซึ่งจะก่อให้เกิดคราบที่ครอบฟัน หรือถ้าหากมีพฤติกรรมเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อป้องกัน และแก้ไขภาวะดังกล่าว
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบในการทำรากฟันเทียม
การรักษาด้วยรากฟันเทียม ถือเป็นการผ่าตัดทางทันตกรรมเช่นเดียวกับการผ่าตัดแบบอื่น ๆ ดังนั้นในการรักษาจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ได้แก่
- ติดเชื้อที่บริเวณรากฟันเทียม ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบตามมาได้
- เกิดอาการบาดเจ็บ หรือทำลายอวัยวะรอบข้าง เช่น ฟันข้างเคียง หรือเส้นเลือดบริเวณรอบ ๆ
- เส้นประสาทเสียหาย ทำให้เกิดความเจ็บปวด ชา หรือความรู้สึกคล้ายเหน็บชาที่บริเวณ ฟัน เหงือก ริมฝีปากและคาง
- ไซนัสอักเสบ เมื่อผ่าตัดฝังรากเทียมบริเวณฟันบน อาจทำให้เกิดการทะลุเป็นช่องระหว่างปากและโพรงอากาศ และทำให้เกิดปัญหาไซนัสอักเสบตามมาได้
รากฟันเทียมราคา
รากฟันเทียมเป็นวัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศ การกำหนดราคารากฟันเทียมขึ้นอยู่กับว่ารากฟันเทียมนั้นๆ นำเข้าจากประเทศอะไร ซึ่งจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน และทันตแพทย์ที่จบเฉพาะทางรากฟันเทียม มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญยังมีจำนวนไม่มากนัก จึงทำให้รากฟันเทียมมีราคาที่สูง แต่ทั้งนี้การเลือกทำรากฟันเทียมควรเลือกที่องค์ประกอบหลายๆอย่าง ไม่ควรเลือกที่ราคาถูกอย่างเดียว เพราะเจอรากฟันเทียมที่ไม่ได้คุณภาพอาจจะทำให้มีปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างอื่นตามมาได้
รากฟันเทียมที่ไหนดี

รากฟันเทียมที่ APEX Dental Center เราใช้รากฟันเทียมที่ได้มาตรฐานสากล เช่น Straumann , Nobel Biocare , Astra Tech เป็นต้น รากฟันเทียมในปัจจุบันมีการผลิตออกมาอย่างแพร่หลาย มีหลายรูปแบบและหลายยี่ห้อให้ทันตแพทย์ได้เลือกใช้ ซึ่งรากฟันเทียมแต่ละยี่ห้อจะมีคุณลักษณะและคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ทันตแพทย์จะเลือกรากฟันเทียมให้เหมาะกับลักษณะกระดูกของคนไข้แต่ละราย แต่หากใช้รากฟันเทียมที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะทำให้เกิดผลเสียในอนาคตได้
ที่ศูนย์ทันตกรรม APEX Dental Center ฝังรากฟันเทียมโดยอาจารย์ทันตแพทย์เฉพาะทาง มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง โดยจะตรวจประเมินภาพรวมของสุขภาพช่องปากและบริเวณที่จะฝังรากฟันเทียม ตรวจประมาณกระดูกและคุณภาพของกระดูก รวมถึงเนื้อเยื้อ และเส้นประสาท เพื่อให้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น APEX Dental Center ที่สาขาเพลินจิต เราได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลคือมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักการและดูแลให้บริการอย่างมืออาชีพ
บทความที่ท่านอาจจะสนใจ
วีเนียร์ เคลือบฟัน แปะฟันขาว เปลี่ยนรอยยิ้มได้อย่างไร
ปรึกษาการทำ รากฟันเทียม โดยทันตแพทย์เฉพาะทางได้ที่ APEX Dental Center
- Inbox : m.me/apexdentalcenter
- Line@ : http://line.me/ti/p/%40apexdentalcenter
สาขาเพลินจิต โทร. 062-6623000
สาขาทองหล่อ โทร. 081-9409974
สาขาภูเก็ต โทร. 099-2877451