Patellofemoral Pain Syndrome Runner’s Knee Chondromalacia ภาวะกระดูกอ่อนใต้ลูกสะบ้าเสื่อม

ภาวะกระดูกอ่อนใต้ลูกสะบ้าเสื่อม อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในนักกีฬาวิ่งหรือคนที่ชอบวิ่งเป็นประจำ เนื่องจากการใช้งานซ้ำๆ มากจนเกินไป Overuse การยืดหยุ่นที่ไม่พอเพียง รวมไปถึงการเพิ่มความเร็ว การเพิ่มระยะทางวิ่งที่มากกว่าปกติ หรือการเปลี่ยนลักษณะการวิ่ง จาก Treadmill คือ ลู่วิ่งไฟฟ้าไปเป็นพื้นปูน เนื่องจากแรงกระแทกที่เปลี่ยนไปจะส่งผลทำให้เกิดอาการเอ็นอักเสบในบริเวณรอบๆ ลูกสะบ้า กลไลการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น การออกกำลังกายแบบ HIIT มากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือแม้แต่การทำกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเข้าไปในการวิ่ง เช่น Box Jump หรือการกระโดดแบบ High Impact ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของลูกสะบ้าใน Femoral Groove หรือการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ เช่น ความยืดหยุ่นบริเวณ IT Band กล้ามเนื้อหลังขา (Hamstrings) และน่อง (Gastrocnemius) ที่ลดลง พบได้มากในนักวิ่ง จึงถูกเรียกว่า อาการ Runner’s Knee

1477543355121

วิธีการป้องกัน

ควรเพิ่มความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อหลังขา (Hamstrings)  และน่อง (Gastrocnemius) ฝึกความแข็งแรงแบบ Eccentric ของกล้ามเนื้อ Quadriceps จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บนี้ได้ รวมถึงการเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อเหล่านี้ในการวิ่ง หรือกระโดด และทดแทนกล้ามเนื้ออื่นๆ ในการรองรับแรงกระแทก

วิธีรักษา

ถ้าเป็นมากๆ แต่ไม่ถึงกับเรื้อรัง ก็เพียงแค่พักจากการวิ่งแล้วประคบเย็นก็จะดีขึ้นได้ ในส่วนของการใช้ยาเพื่อลดการอักเสบจะใช้ในกรณีที่มีการอักเสบมากๆ เช่น ในวันสองวันแรกที่มีอาการอักเสบ เพราะถ้าหากไม่มีการไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบซ้ำ ร่างกายจะค่อยๆ สามารถซ่อมแซมตัวเอง

รู้ได้อย่างไรว่าอาการดีขึ้น? ให้สังเกตุจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่มีอาการเดินข้อขัด ไม่มีอาการเจ็บเข่าขณะขึ้นลงบันได ไม่มีอาการเจ็บจี๊ดเมื่อเดินหรือย่อตัว

วิธีเตรียมตัวก่อนกลับไปวิ่ง

หลังจากที่อาการอักเสบหายแล้ว ควรฟื้นฟูให้ความยืดหยุ่นบริเวณนั้นกลับมา โดยใช้การยืดคลาย Streacthing ในท่างอเข่าก็จะช่วยยืดเอ็นลูกสะบ้า หรือแม้แต่ในวันที่ไม่ได้วิ่ง ก็ควรยืดคลายเส้นอยู่เรื่อยๆ การกลับไปวิ่งในครั้งแรกควรเริ่มต้นจากความเร็วที่พอเหมาะ ระยะเวลาในการวิ่งก็ไม่ควรนานจนเกินไป หรือถ้าเป็นการวิ่งบน Treadmill ไม่ควรปรับ Incline ให้ตั้งค่าอยู่ที่เบอร์ศูนย์เพื่อไม่ให้เกิดแรงต้านที่ลูกสะบ้า

 

hamstring-stretch-3

ท่าที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะที่มีอาการอักเสบ คือ การงอเข่าในองศาที่ต่ำมาก การขึ้นลงบันได นั่งย่อตัว พับเพียบ ขัดสมาธิ และท่า Squats ท่าเหล่านี้จะมีการยืดออกของเอ็นรอบลูกสะบ้า ต้องใช้การยืดหยุ่นค่อนข้างมาก แต่หากเอ็นยังมีการอักเสบอยู่จะทำให้ยืดหยุ่นได้ไม่ดี จะทำให้เจ็บมากขึ้น

1477549356347

เมื่อขับรถก็ต้องเช็คยาง อยากวิ่งเพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีไปนานๆ ก็ต้องดูแลเข่าให้ดีด้วยนะคะ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Facebook : m.me/apexprofoundbeauty
LINE : @apexbeauty

www.apexprofoundbeauty.com

apexhaircenter

ขอขอบคุณผู้เขียนบทความ #Coachpomme